ตารางเวลา
ครูจะหาเวลาจากไหนทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ได้ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับครูที่จะมีชั้นเรียนแนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติฯ ที่จัดการเรียนการสอนได้อย่างลื่นไหล ทำกิจกรรมหลายอย่างได้ดังใจหมาย ให้คิดภาพรวม แล้ววางแผนตามนั้น แม้จะมีการเสียเวลาไปบางขณะ ครูก็ยังมีเวลาส่วนเหลือจากการจัดแผนที่ดี โดยการปฏิบัติตามขั้นตอนนี้
๑. ตรวจวิเคราะห์แผนตารางการใช้เวลาของครูปัจจุบันพิจารณาดูกรอบ ขีดจำกัดของตารางเวลารวมของโรงเรียน และเพิ่มข้อคิดต่อไปว่า : ครูสอนกันเป็นทีมหรือไม่ เด็กๆมีการเปลี่ยนชั้นเรียนไหม? วิชาพิเศษ ( ศิลปะ ดนตรี พละ ) จะเข้าสอดคล้องกับตารางไหม? วิชาสำคัญบางวิชาต้องการเวลาเฉพาะนานเพียงใด
๒. ให้มองการทำงานทั้งวันยางติดต่อกันไปเป็นองค์รวมที่พอเหมาะมากกว่าจะจัดเวลาแบบแบ่งเป็นช่วง เป็นคาบแยกจากกัน รวมกิจกรรมให้ต่อกันเพื่อประหยัดเวลา ส่วนเวลาอ่านออกเสียงให้เป็นช่วงพักบ้าง จัดเวลาการรวมกลุ่มหรือการเข้ามุมการเรียนรู้ให้เป็นกิจวัตร
๓. ประหยัดเวลา โดยการวางแผนการเรียนการสอนตามหัวเรื่อง โดยอาศัยหน่วยในการเรียนรู้บูรณาการ เนื้อหาวิทยาศาสตร์ สังคม สุขอนามัยไปในขณะที่ใช้ภาษาเรียนรู้หัวเรื่องนั้นๆพร้อมกัน และใช้เวลาสำหรับการอ่านและเขียนที่มากพอจะช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการบูรณาการวิชาต่างๆได้เสมอในการจัดหลักสูตร
วางแผนจัดกลุ่มเด็ก
การจัดกลุ่มควรยืดหยุ่น และหลากหลายเพื่อประสิทธิผลในการใช้เวลาตามตาราง ปรับเปลี่ยนไปโดยใช้จำนวนสมาชิก และความสามารถที่แตกต่างกัน ความถนัดในทักษะที่เป็นแบบเดียวกันบ้างคละกันบ้าง ตามความสนใจบ้างคละกันหญิง-ชาย เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้จากเพื่อนในขณะทำกิจกรรม
เมื่อจัดกลุ่มเข้ามุมการเรียนรู้แล้ว ให้พิจารณาถึงเพศ การเติบโต ความพร้อมของเด็กบุคลิกภาพของเด็กแต่ละคน จำนวนเด็กในกลุ่มย่อย ในแต่ละกลุ่มจะขึ้นอยู่กับขนาดของชั้นเรียน ( ไม่ควรเกิน ๕ คน ) และการจัดตามวิถีหรือการออกแบบของครูแต่ละคน ให้แต่ละกลุ่มมีผู้นำตั้งโดยครูหรือเลือกกันเองตามความเหมาะสม ครูช่วยตอบคำถาม ช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มและดูแลให้งานดำเนินต่อไป กลุ่มและผู้นำกลุ่มอาจมีการสับเปลี่ยนตามความต้องการได้ทุกวัน ทุกสัปดาห์หรือเมื่อมีความจำเป็น
วางแผนแต่ละวัน
เมื่อดูตารางเวลาประจำวันและแผนการสอนของเด็กเล็ก ดังตัวอย่างข้างล่างนี้จะสามารถนำมาวางแผน และจัดห้องเรียนในแนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติ โดยให้คำนึงถึงช่วงเวลาที่สามารถปรับยืดหยุ่นได้เองในแต่ละวัน
ตัวอย่างตารางกิจวัตรประจำวัน
๘.๓๐ น. เริ่มกิจกรรมยามเช้า (อ่านหนังสือโปรดปราน / เคลื่อนไหว)
๙.๐๐ น. คณิตคิดคำนวณ
๙.๔๕ น. พักอาหารว่าง
๑๐.๐๐ น. การเรียนรู้ภาษา
๑๑.๓๐ น. กิจกรรมกลางแจ้ง
๑๒.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ น. กิจกรรมตามหัวข้อเรื่อง (สังคม วิทย์ สุขศึกษา)
๑๔.๐๐ น. อ่านในใจ อ่านเงียบๆ ประจำวัน
๑๔.๓๐ น. กิจกรรมพิเศษ (ดนตรี ศิลปะ พละ ห้องสมุด คอมพิวเตอร์)
๑๕.๑๐ น. สรุปทบทวนกิจกรรมปิดท้ายวัน
๑๕.๓๐ น. กลับบ้าน
ตัวอย่าง แผนการเรียนการสอน ระดับเด็กเล็ก ก. ญ. = กลุ่มใหญ่
ก.ย. = กลุ่มย่อย
ด. = เดี่ยว
หัวข้อเรื่อง : โรงเรียน วันที่ :
กิจวัตรประจำวัน ในห้องเรียนแบบภาษาแนวธรรมชาติ – ระดับเด็กเล็ก
๘.๓๐ – ๙.๐๐ น. เริ่มชั้นเรียน
เด็กๆในเวลาอยู่เองตามลำพังให้เริ่มต้นด้วยการส่งเสริมให้เด็กๆรู้จักรับผิดชอบการเรียนรู้ของตน ด้วยการเลือกกิจกรรมเอง ในเวลาอิสระที่ให้ครูไม่จัดงานที่นั่งโต๊ะ แต่เด็กๆจะเลือกกิจกรรมเหล่านี้เองตามความสนใจศูนย์การเรียนต่างๆที่ครูแนะนำ เขียนบันทึกที่ต้องการที่ชอบ หนังสืออ่านทั่วไป หรือตามหน่วยงานแลกเปลี่ยน หนังสือนิตยสารไปห้องสมุด
๙.๐๐ – ๙.๔๕ น. คณิตคิดคำนวณ
หัวข้อ : ใช้แท่งไม้เป็นอุปกรณ์ในการคิดคำนวณ เด็กๆจะจับคู่กันสองคนและเขียนโจทย์เขียนคำตอบ ตามคำสั่งการแก้โจทย์ปัญหาที่ให้ลงในกระดาษ แล้วกลับมานำเสนอกับกลุ่มใหญ่เมื่อถึงเวลาสรุป
๙.๔๕ น. – ๑๐.๐๐ น. (พัก) อาหารว่าง
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. การเรียนรู้ภาษา
อุ่นเครื่อง – ใช้เทคนิคเปลี่ยนกิจกรรมเพื่อให้เด็กปรับอารมณ์และอยู่ในความสงบ พร้อมที่จะเรียนเรื่องภาษาต่อ โดยใช้โคลงกลอน เพลง การเคลื่อนไหว ให้เชื่อมโยงกับหน่วยที่เรียนด้วยช่วยกันอ่าน ( Shared Reading) ครูแนะนำหนังสือประจำสัปดาห์
อ่านหนังสือ เช่น “โรงเรียน” ออกเสียง หลังจากอ่านแล้วให้พูดคุยกันในเรื่องที่อ่าน
เขียนลงในตารางบันทึกของตนเอง(Reading Response Logs) แล้วจึงพูดถึงต่อไป
นักเขียน คนแต่งหนังสือในมุมนักเขียน นักเขียนประจำสัปดาห์ ครูอ่านชื่อหนังสือแล้ว แนะนำผู้แต่งหนังสือ เล่าประวัติให้เด็กๆฟัง และแนะนำเล่มอื่นๆให้เขาเขียนด้วย
หนังสือทั้งหมดจะวางไว้ในมุมตลอดสัปดาห์ มุมการเรียนรู้ ครูแนะนำมุมทั้ง ๖มุม เดินไปทุกมุมและกิจกรรมหรืองานที่ทำใช้มุมละประมาณ ๒๐ นาที โดยเด็กควรจะอย่างน้อยได้เข้า ๓ มุมจาก ๖ มุม ถ้ายังมีเวลาเหลือก็เลือกเพิ่มอีก ๑ มุม
กลุ่ม ๑ – บทเรียนในการอ่านหนังสือได้หลายเล่ม (คือความรู้ ข้อมูล จากวรรณกรรม) ใช้สำเนาบทความหรือเรื่องจากหนังสือ และชี้ให้เด็กๆเห็นว่า เราได้ข่าวสารมากมายจากหนังสือเหล่านี้ และมองเห็นระหว่างความจริงกับนิทาน นิยาย สนทนาด้วยกัน
กลุ่ม ๒ – เพื่อนอ่านให้ฟัง ใช้เสียงค่อยๆอ่านหนังสือของนักเขียนประจำสัปดาห์ แต่ไม่ให้รบกวนเพื่อน
กลุ่ม๓ – มุมวิทย์ ใช้รูปและบัตรสร้างประโยคเรื่องวงจรน้ำที่ถูกต้อง เขียนผังตามที่แสดงได้
กลุ่ม ๔ – บัตรคำศัพท์ เด็กๆสร้างบัตรคำกันเองตามเรื่องวงจรของน้ำ จับคู่และเรียงบัตรแยกบัตรในแบบต่างๆไล่เรียงอักษร ตามสรรพนาม คำกริยา
กลุ่ม ๕ – มุมศิลปะ ทำหนังสือรูปทรงไว้ใช้ในงานบันทึก เรื่องการทำน้ำให้สะอาด ไว้ใช้ในโรงเรียน เมื่อออกไปทัศนศึกษา
กลุ่ม ๖ – มุมการฟัง (ใส่แถบบันทึกเสียง) เด็กๆฟังเทปที่ครูจัดทำสำเนาไว้ โดยอาจมีเสียงครูพูดถึงการออกแบบหนังสือของเด็กๆ และของนักเขียนหลายๆ เช่น กรุณาสังเกตห้องเรียนครูด้วยอะไรคือความจริงจากที่เรียนวงจรน้ำ
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. อาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. ( พักนอนในชั้นอนุบาล ๑ – ๒ ส่วนอนุบาล ๓ จัดมุมให้นอนงีบตามความต้องการของเด็ก)
เรียนเนื้อหาตามหัวเรื่อง (วิทย์ : เน้นวงจรของน้ำ การระเหย ) เพื่อให้วิทย์กับหัวข้อเรื่องโรงเรียนเชื่อมโยงกันได้ ใช้หนังสือ The Magic School Bus as the Waterworks ครูเริ่มอ่านในช่วงแรก และให้เด็กๆอ่านตามในบทต่อๆมา กลุ่มย่อยสังเกตการณ์ระเหยของน้ำใส่ภาชนะไว้เปรียบเทียบกัน อันหนึ่งปิดฝา อีกอันหนึ่งเปิดฝา เป็นต้น
๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. อ่านในใจ
เด็กๆเลือกหนังสือ เล่มสองเล่ม และอ่านเขียนในใจ ที่มุมหนังสือสบายๆ ฝึกอ่านไม่คุยกัน ไม่พลิกหนังสือดังๆ ให้นั่งอยู่กับที่ไม่ลุกไปไหนระหว่างอ่าน อ่านเขียนประจำวัน
๑๔.๓๐ – ๑๕.๑๐ น. กิจกรรมพิเศษ
พบครูพละและลงเล่มสนามใหญ่
๑๕.๑๐ – ๑๕.๓๐ น. ทบทวนก่อนกลับบ้าน
เด็กๆ มานั่งรวมกันกลางห้องบนพื้น ทบทวนทั้งวันที่ผ่านมา แล้วเตรียมวางแผนสำหรับวันต่อไป อธิบายการบ้านที่ให้ทำ (อ่านหนังสือ ๒๐ นาที )
ปิดวันเรียนด้วยคำพูดที่สนุกสนานหรือลับสมอง การทายปัญหาก่อนกลับ ทั้งครูหรือเด็กจะนำก็ได้
วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
หนูเข้ามาศึกษาบทเรียนครบทุกบทแล้วค่ะ...
ตอบลบหนูขอบคุณสำหรับเนื้อหาบทเรียนมากๆเลยนะคะ
เทอมนี้พวกหนูอาจจะไม่ค่อยตั้งใจเรียนของอาจารย์สักเท่าไหร่
มัวแต่สนใจคอมพิวเตอร์
ในเทอมต่อไปหนูจะตั้งใจเรียนให้มากขึ้นนะคะ
และพวกหนูขอบคุณอาจารย์จ๋า สำหรับรายวิชานี้จริงๆนะค่ะ
หนูได้อะไรจากวิชานี้ตั้งหลายอย่าง ที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป!
ไม่ว่าเทอมต่อไป พวกหนูจะได้เรียนหรือไม่ได้เรียนกับอาจารย์จ๋าอีก
หนูอยากจะบอว่า น.ศ.ปี2หลายๆคนรักอาจารย์จ๋านะคะ :)