แนวคิดนักการศึกษาและนักทฤษฎี
โคมินิอุส
เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ ๆ ได้ด้วยการนําเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยู่แล้ว เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาถิ่นหรือภาษาในชีวิตประจําวันของเด็ก
กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิธ
ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้และมีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดเจนจากการที่ เด็ก ๆ นั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีความหมายในกระบวนการเรียนรู้ทั่ว ๆ ไปของเด็กในโรงเรียน
ครูใช้ภาษาทุกทักษะ ด้าน การฟัง พูด อ่าน เขียน แบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ การแนะแนวหลักสูตร การทําจดหมายข่าว การเขียนบทความ การเขียนหนังสือต่างๆ ฯลฯ ครูบางกลุ่มได้อธิบายการพัฒนาปรับเปลี่ยนการอ่านของเด็กจนเกิดแนวทางใหม่ในการอ่านแบบภาษาธรรมชาติ
จูดิท นิวแมน (Judith Newman)
การสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา(Philosophical stance) ความคิดของผู้สอนโดยก่อตัวขึ้นจากหลักการสอนที่ผู้สอนนํามาบูรณาการ
จอห์น ดิวอี้
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดจากประสบการณ์ตรงโดยการลงมือกระทําด้วยตนเอง (Learning by doing)
ทฤษฎีที่เป็นกุญแจสําคัญของการสะท้อนความคิดต่อการสอนของครู (Reflective teaching)
ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษาให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้ทุกเรื่องในหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของนักทฤษฎีต่อไปนี้
เพียเจท์
เด็กจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมด้วยการเคลื่อนไหวและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างองค์ความรู้ขึ้นภายในตนเองนั้นโดยเด็กเป็นผู้กระทํา (Active) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเอง
จึงกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทําร่วมกันและเป็นรายบุคคล
ไวกอตสกี
การเรียนรู้ภาษาของเด็ก เกิดขึ้นได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อ แม่ เพื่อน และ ครู
บริบทหรือสิ่งต่างๆรอบตัวมีอิทธิพลต่อเด็กในการช่วยเหลือให้ลงมือทําเป็นขั้นตอน ผ่านการเล่นและกิจกรรม นำไปสู่การเรียนรู้ภาษาผ่านการใช้สัญลักษณ์
ฮอลลิเดย์
บริบทที่แวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็กจะเป็นผู้ใช้ภาษาในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้อง ในการเรียนรู้ทุกสิ่งผ่านภาษา และเรียนเกี่ยวกับภาษาไปพร้อม ๆ กัน
กู๊ดแมน
ภาษาเป็นเครื่องมือที่สําคัญสําหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษา และต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูจะต้องตระหนักและให้ความสําคัญ กับภาษา
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น