วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดที่ 3.

ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน

ขั้นแรก   
 คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น ชื่อ ( คน,อาหาร,สิ่งที่อยู่รอบตัว )พัฒนาการในขั้นนี้ กู๊ดแมนเรียกว่าเป็น “รากเหง้าของการอ่าน เขียน”      


ขั้นที่สอง   
ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้น เรียกชื่อได้หรืออ่านได้ถูก และเรียนรู้ที่อยู่ (ตำแหน่ง) ของตัวอักษร      

ขั้นที่สาม    
เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษรตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษรจะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวาซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการด้านการอ่านในเด็กปฐมวัย ในขณะเดียวกันเด็กเริ่มรู้จักรูปร่างและระบบของตัวอักษรมากขึ้น     


ขั้นสุดท้าย 
  ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน

การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน

ระยะแรก   
 เป็นระยะที่เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ที่ใช้แทนอักษรและที่ไม่ใช่อักษร เขาจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นมาเองแทนอักษร มีการจัดเรียงอักษรเป็นเส้นตรง บางครั้งจะเขียนโดยใช้ทิศทางคงที่ บางครั้งจะใช้ ๑ สัญลักษณ์แทนคำ ๑ คำ …โดยแต่ละอักษรมีลักษณะที่แตกต่างกัน   เด็กรู้ดีว่าการเขียนจะสัมพันธ์กับอักษรมากกว่ารูปร่างของวัตถุเราสามารถมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างส่วนที่เด็กวาดและส่วนที่เด็กเขียนเราค้นพบว่าประสบการณ์ในการเขียนขั้นต้นมักเขียนชื่อของตนเองเสมอ            


ระยะที่สอง 
  ลักษณะสำคัญคือ การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด เด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความโดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม นั้นคือเด็กเริ่มรู้จักเขียนแสดงให้เห็นความแตกต่างของถ้อยคำ เช่น เด็กคนหนึ่งเขียนจดหมายถึงบิดาโดยใช้อักษรที่ใช้เขียนชื่อของเธอเท่านั้น   เด็กใช้อักษรจำนวนจำกัดนี้เขียนทุกสิ่งที่เธอต้องการ ด้วยการจัดเรียงอักษรเหล่านั้นให้มีลักษณะต่างกันแล้วเธอบอกว่า "หนูไม่รู้วิธีอ่าน แต่คุณพ่อหนูรู้ค่ะ"เด็กบางคนเขียนนิยายโดยผูกเค้าโครงจากเรื่องที่ฟังและเรียงจากซ้ายไปขวา โดยอ่านให้ฟังจากการจำเรื่องราว ดังนั้นการเขียนจึงไม่ได้เป็นเพียงผลผลิตของการเขียนเท่านั้น แต่เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสมองเด็กโดยระหว่างที่เด็กเริ่มเขียนเรียงถ้อยคำนั้น เด็กจะเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนกับคำและความหมาย แม้ว่าเด็กยังไม่แยกความแตกต่างระหว่างเสียงและตัวอักษร เช่นเด็กสองคนตกลงจะใช้ตัวอักษรเพียง ๒ - ๓ ตัวในการเขียนคำว่า “หยุด” คำนี้มีความหมายว่าหยุดนิ่ง และเด็กทั้งสองจะใช้อักษรจำนวนมากที่สุดสำหรับคำว่า “เคลื่อนที่ไปข้างหน้า”หมายถึงการเปลี่ยนตำแหน่งไปข้างหน้า กรณีนี้จำนวนอักษรที่ต่างกันมีความสัมพันธ์กับความหมายที่เด็กเข้าใจนั้นเองไม่เกี่ยวกับเสียงของคำ      



ระยะที่สาม
เป็นระยะที่เด็กเริ่มใช้ลักษณะการออกเสียงในขณะเขียนและการเขียนของเด็กเริ่มใกล้เคียงกับการเขียนตามแบบแผนในที่สุดเด็กสามารถเข้าใจหลักการเขียนหนังสือในภาษาของตนเองได้เช่น เด็กเขียนอธิบายลักษณะบ้านแม่มด โดยเขียนคำว่า”บ้าน”ได้ถูกต้อง เด็กใช้พยัญชนะขึ้นต้นคำแต่ละคำแทนคำต่างๆ ตามตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด นั้นย่อมแสดงให้เห็นว่า “เด็ก ๆ รู้ดีว่าการเขียนเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับภาษา” เด็กต้องใช้ความพยายามพอสมควรที่จะค้นหาลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและการเขียน       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น