วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บันทึกหลังการสอนครั้งที่ 3


วันที่ 20 พ.ย.52ไปราชการ จึงต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน
วันที่ 19 พ.ย.52ให้นักศึกษามารับใบงานและเอกสารเพื่อไปศึกษาโดยอ่านและสรุปเนื้อเรื่องให้ได้15บรรทัดและเขียนเป็นอนุทินลงบล็อค
วันที่27 พ.ย.52 ไปสัมนาการพัฒนาหลักสูตร ที่ จ.กาญจนบุรี ให้นักศึกษาค้นคว้าและนำเสนอกิจกรรมและสื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยโดยเขียนลงในบล็อก
วันที่ 4 ธันวาคม 2552ให้นักศึกษานำเสนอนผลงานจากการค้นคว้าในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายประกอบด้วย
1. ความหมาย
2. ความสำคัญ
3. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
4. จิตวิทยาการเรียนรู้
5. แนวคิดนักการศึกษา
6. หลักการการจัดประสบการณ์ ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ให้เวลากลุ่มละ 10 นาที หลังจากนั้นผู้สอนจะให้นักศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากการอ่านเอกสารและกิจกรรมตลอดจนสื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่นำเสนอกับหัวข้อหลักทั้ง 6 หัวข้อดังกล่าว
การเรียนการสอนอาจปรับเปลี่ยนไปบ้างนักศึกษาอาจรู้สึกสับสน แต่ขอให้เชื่อม่นและเข้าใจว่างานทุกอย่างที่มีประโยชน์และจำเป็นต้องปฏิบัติเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาวิชาชีพครูปฐมวัยให้ดีขึ้นและครูจะต้องนัดวันชดเชยการเรียนการสอนให้กับพวกเรา
อ. จ๋า
ผู้หญิงที่เชื่อว่าครูที่ดีต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและสั่งสอนลูกศิษย์เต็มความรู้เต็มความสามารถและเต็มเวลา

บันทึกหลังการสอนครั้งที่ 2


บรรยากาศในวันนี้นักศึกษาเริ่มที่จะผ่อนคลายผู้สอนสังเกตได้จากการแสดงความคิดเห็นตอบโต้และร่วมอภิปรายในชั้นเรียน
ซึ่งผู้สอนต้องใจเย็นและฟังความคิดเห็นของผู้เรียนทั้งหมดและให้กำลังใจต่อความคิดเห็นเหล่านั้นเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงออกทางความคิดอย่างอิสระและเกิดความเชื่อมั่นว่าผู้สอนให้การยอมรับในความคิดของเขาเหล่านั้นเป็นการสนับสนุนให้นักศึกษากล้าแสดงออกซึ่งผู้สอน คงจะต้องสะท้อนเพิ่มเติมความคิดเหล่านั้นให้ชัดเจนและหนักแน่นในเชิงเหตุผล
ผู้สอนให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำงานกลุ่มละ 4ถึง 5คนในหัวข้อดังต่อไปนี้
1. ความหมาย
2. ความสำคัญ
3. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
4. จิตวิทยาการเรียนรู้
5. แนวคิดนักการศึกษา
6. หลักการการจัดประสบการณ์ ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วิธีการ
1. สมาชิกของกลุ่มหาข้อมูลในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายโดยไม่ลืมที่จะอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่นำมาเป็นการให้เกียติกับเจ้าของผลงานนั้นๆและเป็นมารยาททางวิชาการ
2. เมื่อทำงานในส่วนของตนเรียบร้อยแล้วให้ส่งเมล์ไปหาหัวหน้าเพื่อรวบรวมของทุกคนในกลุ่ม
3. ให้สมาชิกมารวมกันและเรียบเรียงงานทั้งหมดให้เป็นงานเดียวกันและเตรียมนำเสนอ(สามารถคิดวิธีนำเสนอได้โดยอิสระ)
บรรยากาศการทำงานขลุกขลักเล็กน้อยอันเนื่องมาจากนักศึกษาไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่วางไว้ให้ส่วนใหญ่จะแบ่งให้ทำเป็นส่วนๆ และยึดถืองานเพียงอันใดอันหนึ่งซึ่งผู้สอนจะต้องศึกษาและหาวิธีปรับปรุงการทำงานกลุ่มของนักศึกษาในครั้งต่อไป
อ.จ๋า
ผู้หญิงที่พร้อมจะปรับปรุงตนและปรับปรุงงานถ้าการปรับปรุงนำมาซึ่งประโยชน์ต่อผู้เรียนและวิชาชีพครู

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ชั่วโมงแรกก็พบสุข



หลังจากที่ทุกคนได้พักผ่อนในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่ก็จะกลับบ้านไปปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดี และดีใจที่ไม่มีใครไปสวมบทบาทดาวมหาวิทยาลัยกับพ่อและแม่ แต่บางคนก็มีวาสนา หรูหน่อยได้ไปเที่ยวเป็นที่น่าอิจฉา ส่วนครูเองเมื่อเงยหน้ามาอีกทีก็เปิดภาคเรียนอีกแล้วยังไม่ได้ไปไหนเลย ทำให้บรรยากาศของการเรียนในชั่วโมงแรกหลังจากที่ไม่ได้พบนักศึกษากลุ่มนี้หนึ่งเทอม นักศึกษาแสดงอาการและความรู้สึกเกร็งๆจากการสังเกตและถามคำถามที่ถามคำตอบคำ และไม่กล้าแสดงออก จึงปรับเปลี่ยนการพูดที่ไม่เป็นทางการเพื่อเรียกบรรยากาศที่อบอุ่นและความไว้วางใจ

จากนั้นผู้สอนชี้แจงแนวปฏิบัติและวัตถุประสงค์ของการเรียนโดยเปิดโอกาส ให้นักศึกษาได้ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมและ อธิบายพร้อมให้คำแนะนำการเขียนอนุทินซึ่งจะต้องบันทึกหลังการเรียนทุกครั้ง ประกอบด้วย การเขียนบรรยากาศในการเรียน ข้อความรู้ที่ได้รับ การประยุกต์เพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อไปโดยแสดงเหตุผลสนับสนุนในเชิงวิชาการ หรืออาจมีข้อสงสัยที่ยังไม่เข้าใจ ผู้สอนให้นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นตามความเข้าใจจากชื่อรายวิชา (การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย)และพิมพ์ในWord จากนั้นผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายความหมายของคำสำคัญในประโยคและเรียบเรียงเป็นประโยคความเรียงที่เข้าใจง่ายและให้นักศึกษาบันทึกข้อความรู้จากความเข้าใจอีกครั้งจากนั้นจึงให้นักศึกษาอ่านและวิเคราะห์เปรียบเทียบความเข้าใจครั้งที่1กับความเข้าใจหลังเรียนรู้โด้วยการเขียนเรียบเรียงใหม่ซึ่งอาจมีทั้งในส่วนที่สอดคล้องและส่วนที่เพิ่มเติม พร้อมแสดงเหตุผลประกอบการเขียน วึ่งในช่วงนี้นักศึกษายังมีความกังวลกับการเขียนผู้สอนจึงได้ชี้แจงว่าในระยะแรกๆเราอาจจับประเด็นการเขียนไม่คล่องแต่ถ้าฝึกปฏิบัติและเขียนบ่อยๆเราน่าจะพัฒนาขึ้น ซึ่งการประเมินจึงไม่ได้ดูที่ถูกผิดอย่างเดียวแต่จะพิจารณาการพัฒนาของผู้เรียนด้วย และการเขียนตามความเป็นจริงจะช่วยให้พวกเรามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนของผู้เรียนและผู้สอนซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงการเรียนการสอนเช่นกัน

ผู้สอนได้นำเทคโนโลยีเป็นสื่อในการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้กับนักศึกษาโดยการสร้างบล๊อค LANGUAGE EXPRIENCES FOR EARLYCHILDHOOD เพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และตกแต่งองค์ประกอบที่สำคัญของบล๊อค สร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ของเพื่อนในชั้นเรียน แหล่งเรียนรู้ ประกอบด้วย หน่วยงาน แหล่งข้อมูล แหล่งสื่อ (เพลง เกม นิทาน )ที่สนับสนุนและส่งเสริม ความสามารถในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยของผู้เรียน พบว่านักศึกษาบางคนได้มีโอกาสช่วยเหลือและให้คำแนนนำกับเพื่อนที่ทำได้ช้า
และแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน บางคนแสดงความคิดสร้างสรรค์โดยตกแต่งบล๊อคอย่างสวยงามด้วยความตั้งใจ

เมื่อได้เวลาที่เหมาะสมจึงแยกย้ายกลับบ้านโดยไม่สืมที่จะตรวจสอบความเรียบร้อยของห้องก่อนออกจากไป

อาจารย์จ๋า
ผู้หญิงที่มีความสุขทุกครั้งที่ได้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา