วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นิทานเล่าไปตัดไป

เรื่องกระต่ายกับปลาวาฬ
เดิมทีนิทานเรื่องกระต่ายกับปลาวาฬนี้ไม่มี แต่เป็นเรื่องที่แปลงมาจาก “กระต่ายกับผู้อยากข้ามทะเล” เป็นนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น เรื่องเดิมนั้นกระต่ายใช้เล่ห์กลหลอกปลาฉลามว่าใครจะมีเพื่อนมากกว่ากัน โดยกระต่ายกระโดดไปหลังปลาฉลามทีละตัวแล้วแกล้งนับ เมื่อข้ามทะเลไปยังเกาะที่ต้องการแล้วกระต่ายก็หัวเราะเยาะปลาฉลาม ทำให้ปลาฉลามโกรธกระโดดงับหางกระต่ายจนกุด


จะเห็นได้ว่านิทานเรื่องนี้มีจำนวนตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้อง ลองเอามาผนวกกับวิธีการพับกระดาษแบบหีบเพลงหลายๆชั้นแล้วตัดเป็นรูปตุ๊กตา พอยืดออกมาก็จะได้ตุ๊กตาจับมือยืดยาว

จากนิทานเรื่องเดิมเรานำมาแปลงเสียใหม่เป็น “กระต่ายกับปลาวาฬ” ลองดูว่าจะเป็นอย่างไร ก่อนอื่นเตรียมกระดาษบางๆจะมีสีหรือไม่มีก็ได้ นำมาต่อให้เป็นแถบยาวๆเพื่อที่จะได้พับไปพับมาแบบหีบเพลง ส่วนความกว้างกำหนดเอาเอง เมื่อพับได้จำนวนพอสมควรแล้วก็เตรียมกรรไกรพร้อมที่จะตัดประกอกการเล่า

                                           วิธีพับและตัด











นิทานเรื่อง กระต่ายกับปลาวาฬ


มีกระต่ายตัวหนึ่งอาศัยอยู่บนชายทะเล (เริ่มใช้กรรไกรตัดกระดาเป็นรูปปลาวาฬ) มันอบมองออกไปนอกชายทะเล เพราะว่าไกลออกไปในทะเล มีเกาะเล็กๆเกาะหนึ่ง มีหญ้าสีเขียวน่ากินขึ้นเต็มเกาะ เจ้ากระต่ายอยากไอเกาะนั้นจริงๆ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะมันว่ายน้ำไม่เป็น

ขณะที่เจ้ากระต่ายนั่งมองเกาะด้วยสายตาเหม่อลอย มันก็หลอบเห็นน้ำพุพุ่งขึ้นจากทะเลตรงหน้ามันพอดี “ใช่แล้ว ปลาวาฬ ... ปลาวาฬใจดี” เจ้ากระต่ายดีใจตะโกนเรียกปลาวาฬ (ตัดปลาวาฬเสร็จพอดี ชูให้เด็กๆดู) ปลาวาฬว่ายเข้าไปใกล้กระต่าย

“ช่วยพาฉันไปเกาะเล็กๆข้างหน้านั้นทีเถอะ” กระต่ายขอร้องปลาวาฬ ปลาวาฬตกลง แต่ขอใช้วีของปลาวาฬดีกว่า โดยปลาวาฬจะเรียกเพื่อนๆมาลอยน้ำเรียงตัวจากชายทะเลไปถึงเกาะเล็ก แล้วให้กระต่ายกระโดดไปบนหลังปลาวาฬทีละตัวพร้อมกับช่วยนับปลาวาฬด้วย เพราะมันอยากรู้ว่าเพื่อนปลาวาฬของมันมีทั้งหมดกี่ตัว กระต่ายตกลง เมื่อเพื่อนๆปลาวาฬลอยน้ำเรียงตัวกันครบ เจ้ากระต่ายก็กระโดดไปบนหลังปลาวาฬแล้วนับ “หนึ่งตัว” (ตอนนี้ผู้เล่าคลี่ปลาวาฬออกทีละตัวตามจำนวนนับ) “สองตัว” “สามตัว” ถ้าจะให้กระต่ายนับปลาวาฬไปเรื่อยๆจนครบ ก็จะไม่สนุกเพราะเด็กไม่มีส่วนร่วม จึงแกล้งแต่งนิทานให้กระต่ายนับเลขได้แค่สามตัวเท่านั้น ตรงนี้ก็ถามเด็กๆว่า “อยากช่วยเจ้ากระต่ายนับปลาวาฬหรือเปล่า” เด็กๆก็จะช่วยนับปลาวาฬ ก็เป็น “สี่ตัว” “ห้าตัว” ....”สิบตัว”ไปจนหมดตามจำนวนกระดาษที่พับและตัดเป็นปลาวาฬ

เมื่อนับปลาวาฬครบ เจ้ากระต่ายก็ได้กินหญ้าแสนอร่อย ปลาวาฬก็รู้จำนวนเพื่อนๆของมัน เด็กๆก็ได้สนุก ได้นับเลข ได้ช่วยกระต่ายและปลาวาฬ ครูก็ได้งานศิลปะเอาไปประดับห้อง

วิธีเล่าไปตัดไปนี้ ผู้เล่าสามารถตัดกระดาษออกมาเป็นรูปต่างๆได้มากมายก็จะทำให้นิทาสนุกมากยิ่งขึ้น และยิ่งตัดออกมาได้รูปแปลกๆก็จะทำให้เป็นที่สนใจแก่เด็กๆอีกด้วย




ตัวอย่างกิจกรรมภาษา

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำกลอนประกอบการสอน

1.กระจิบ


กระจิบเอย จิ๊บจิ๊บเจรจา
เชิญเจ้าลงมา หาน้องหน่อยเอย

2.กระต่าย

กระต่ายหูยาว สีขาวน่ารัก
เด็กเด็กชอบนัก อยากเป็นเจ้าของ
ช่วยกันเก็บผัก หญ้าหักมากอง
เอ็นดูประคอง จับต้องกายา

3.กระต่าย
กระต่ายเอย เจ้าหมายชมจันทร์
แลดูอยู่ทุกวัน พระจันทร์ไม่มาหาเอย

4.การละเล่นของเด็ก
แมงมุมเอย ขยุ้มหลังคา
แมวกินปลา หมาไล่กัด กะโพ้งก้น
โยกเยกเอย น้ำท่วมเมฆ กระต่ายลอยคอ
ไอ้เขียวหางงอ กอดคอโยกเยก
หนึ่งแปะเป็ด สองแปะไก่
สามไข่ไก่ สี่ไข่เป็ด
ห้าตบอก หกตบมือ
เจ็ดจิ้มจมูก แปดลงเวียน
เก้าหูยักษ์ สิบหักนิ้ว
นกกาเหว่าเอย ไข่ให้แม่กาฟัก
แม่กาหลงรัก เลี้ยงดังลูกในอุทร
คาบเอาข้าวมาเผื่อ คาบเอาเหยื่อมาป้อน
ปีกหางเจ้ายังอ่อน เพิ่งจะสอนบิน
พาลูกเที่ยวหากิน ตามลำธาร
วัดเอยวัดโบสถ์ ปลูกข้าวโพดสาลี
ลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากลูกสาวหนี
โอ้ข้าวโพดสาลี ตั้งแต่นี้จะโรยรา

5.การเล่น
เวลาเล่นระวังตัว อย่ามัวแต่เพลิดเพลิน
ลงบันไดค่อยค่อยเดิน อย่ารูดราวบันไดลง

6.กิ้งโครง
กิ้งโครงเอย เข้าโพรงนกเอี้ยง
เจ้าของเขาเถียง เจ้าก็ไม่ฟังเอย

7.กุ๊กไก่
กุ๊กไก่เอย ออกจากไข่
แม่ไก่เลี้ยงดู เหยี่ยวบินมา
พากันวิ่งพรู เข้าไปอยู่ใต้ปีกแม่เอย

8.ไก่
โอ้ไก่เอยไก่ ใครใครรู้จัก
ตัวผู้น่ารัก ตัวเมียออกไข่
ไข่ไก่มีประโยชน์ ไร้โทษใดใด
เราควรเลี้ยงไว้ กินไข่ตลอดกาล

9.งูเขียว
งูเขียวเอย ตัวเดียวแลแห
ไม่ปะตุ๊กแก ชะแง้คอยท่า
ตุ๊กแกรีบมา ให้เรากินตับเอย

10.จำปาจำปี
จำปาจำปี พี่น้องฝาแฝด
จำปาสีแสด จำปีสีขาว
จำปาหน้ากว้าง จำปีหน้ายาว
จำปาชอบหนาว จำปีชอบร้อน
จำปาชอบแดด จำปีชอบฝน
จำปาซุกซน จำปีหนีซ่อน
จำปาหัวแข็ง จำปีหัวอ่อน
จำปานั่งนอน จำปีวิ่งวน

11.จิงโจ้
จิงโจ้เอย เจ้าโล้สำเภา
หมาใหญ่ไล่เห่า เจ้าก็ตกใจเอย

12.จิ้งจก
จิ้งจกจกจิ๊กจิ๊ก หางกระดิกระริกรัว
เห็นแมวมันแสนกลัว รีบไต่ฝาขึ้นเพดาน

13.เจ็ดวันเจ็ดสี
เจ็ดวันฉันนั่งนับ อาทิตย์รับเริ่มสีแดง
วันจันทร์นั้นเปลี่ยนแปลง เป็นสีเหลืองเรื่อเรืองตา
อังคารสีชมพู ช่างงามหรูดูทีท่า
วันพุธสุดโสภา เขียวขจีสีสดใส
วันพฤหัสบดี ประสานสี แสดวิไล
วันศุกร์ฟ้าอำไพ เสาร์สีม่วง เด่นดวงเอย

14.ชะนี
เสียงชะนีโหย โอดโอยหาคู่
วังเวงฟังดู ร้องกู่วนเวียน
จับกิ่งไว้โหน โยนตัวแปรเปลี่ยน
เด็กเด็กนักเรียน ล่อให้ลงมา

15.ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ ยามตะวันลับเหลื่อมภูผา
ก็ทอแสงนวลงามอร่ามตา ในฟากฟ้าท่ามกลางหมู่ดวงดาว

16.ดวงดาว
ดวงดาวเอย วาววาวทอแสง
เมื่อเดือนแจ้ง แสงดาวจางเอย

17.ดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ ดูน้อยนิดแต่แสงแดงฉายฉาน
ให้แสงสว่างความร้อนอยู่ทุกวาร มีคุนานับประการแก่ปวงชน

18.ดอกไม้
ดอกไม้ แลวิไลน่ารักหนักหนา
สีสดงดงามอร่ามตา ล่อแมลงให้มาเชยชม

19.เด็กน้อย
เด็กน้อยน้อย เจ้าค่อยตั้งไข่
ยังเดินไม่ไหว ตั้งใจจดจ้อง
อย่าด่วนคลาไคล ระวังระไวนะน้อง
หาไม่เจ้าจะร้อง เพราะว่าหกล้มเอย

20.ต้อยติ่ง
ต้อยติ่งเอย งามจริงสีม่วง
ยามเม็ดเจ้าร่วง ลงน้ำดังเปรี๊ยะเอย

21.ติ๋งโหน่ง
ติ๋งโหน่งเอย ติ๋งโหน่งโหน่งเหน่ง
ถ้าใครจับเห็บ แสนเจ็บร้องเอ๋ง
กัดหลัง กัดหน้า คนไม่เกรงกลัว
ติ๋งโหน่งโหน่งเหน่ง โฉมากจริงเจ้าเอย

22.ตื่นเถิด
ตื่นเถิดหนายาใจสายมากแล้ว
ฟังไก่แก้วขันขันกระชั้นเสียง
ตะวันโผล่ขอบฟ้ามามองเมียง
ลงจากเตียงเถิดหนาอย่าแชเชียน

23.ตุ๊ดตู่
ตุ๊ดตู่เอย อยู่ในรูกระบอก
ใครเรียกไม่ออก เจ้าช่างดื้อจริงเอย

24.ถ้าฉันเป็นนก
ถ้าฉันเป็นนกจะโผบิน โบกบินไปสู่ป่าใหญ่
ชมละหานธารถ้ำสำราญใจ ไม่มีใครสุขเทียบเปรียบตัวเรา

25.เท้งเต้ง
เท้งเต้งเอย เท้งเต้งเรือถอย
เด็กน้อยน้อย ลอยเรือเล่นเอย

26.นกกระจาบ
นกกระจาบเอย เจ้าคาบไม้พง
มาเสียบมาสอย มิได้งวยงง
เจ้าสร้างรังสวย ระรวยรูปทรง
สร้างรังอยู่คง กอไผ่ใหญ่เอย

27.นกแก้ว
ชมดูหมู่นกแก้ว ร้องเจี้อยแจ้วอยู่ริมทาง
ปีกหางช่างสำอาง เขียวสดสีงามดีเอย

28.นกขมิ้น
นกขมิ้นเหลืองอ่อน เจ้านอนรังไหน
ในสุมทุมพุ่มไม้ ที่ตรงชายป่าเอย

29.นกเขาขัน
นกเขาขันเอย ตะวันคล้อยบ่าย
ขันแต่เช้าจนสาย เสียงเสนาะนักเอย

30.นกน้อย
นกน้อยนอนในนา ตามกอหญ้า กอข้าวชู
อยู่ตรงข้างรูปู กับรูหนูนาน้อยเอย

31.นกยูง
นกยูงเอย อยู่เป็นฝูงในป่า
เจ้าช่างเยื้องกราย รำร่ายหลายท่า
เจ้าแผ่ปีกหาง สำอางนัยนา
สุดจะเอ่ยวาจา ชมเจ้าร่าย

32.นางนวล
นางนวล บินสวนเรือไป
หาปลาน้อยใหญ่ ที่ในทะเลเอย

33.นางแอ่น
นางแอ่นเอย เจ้าช่างเล่นลอยลม
ช่างน่าชื่นชม เจ้าทำรังเอย

34.นาฬิกา
นาฬิกาบอกเวลา นาฬิกาแสนเที่ยงตรง
นักเรียนทั้งหลายจง ตรงเที่ยงอย่างนาฬิกา

35.น้ำตาล
น้ำตาลจากต้นตาล มีรสหวานแหลมชวนชิม
ต้นตาลที่ตรงริม วัดโตนดมีน้ำตาล

36.บ๊อกแบ๊ก
บ๊อกแบ๊กเอย เราแรกหัดเห่า
แม่รักเจ้า เท่าดวงใจเอย

37.บัว

บัวสีแดง บานรับแสงตะวัน
บัวขาวบัวผัน บัวหลวงบัวสาย
เก็บมาบูชาพระ เมื่อจะทำบุญให้
ปู่ย่าทั้งตายาย ให้ได้ความสุขเอย

38.ปลาทู
ปลาทูเอย อยู่ในทะเล
เวลาโพล้เพล้ ว่ายเข้าโป๊ะเอย

39.ปูนา
ปูนาเอย ไต่มาข้างถนน
เจ้ามีสิบขา หลบหน้าเด็กซน
มิใคร่จะพ้น ถูกจับเล่นเอย

40.ผีเสื้อ
ผีสื้อ ช่างเด่นเหลือเหลืองอร่ามงามหนักหนา
สีสดสวยประหนึ่งทองทา แล้วลงผาหลากสีสวยดีจริง

41.ผึ้ง
แมลงผึ้ง บินหึ่งหึ่งตามพุ่มพฤกษา
ขนเกษรดอกไม้นานา แล้วรีบพาเอากลับไปรวงรั

42.ฝนตก
ฝนตกจั๊กจั๊ก ถนนลื่นนัก
จงเดินดีดี อย่าวิ่งแข่งกัน
ฟันจะหักสองซี่ ฟันหักอย่างนี้
เพราะว่าหกล้มเอย

43.ฝนตกพรำพรำ
ฝนตกพรำพรำ แม่ดำกางร่ม
แกเดินก้มก้ม อยู่ข้างกำแพง
ประเดี๋ยวแดดออก แกบอกพ่อแดง
ฉันไม่มีแรง หุบร่มให้ที

44.ภาษิตสอนเด็ก
หมั่นเอ๋ย หมั่นเรียน พากเพียรเถิดหนาอย่าท้อถอย
อย่าปล่อยเวลาอย่ารอคอย เพียรแต่น้อยคุ้มใหญ่จะได้ดี
ความเอ๋ย ความดี ผู้ใดมีศีลธรรมประจำจิต
รักษาความดีดุจชีวิต ทั่วทิศคนชมนิยมเอย
ตัวเอ๋ย ตัวเรา อย่าใจเบาตามใจตัวมัวลุ่มหลง
จงคิดหลังคิดหน้าอย่างวยงง ความซื่อตรงพาตนรอดปลอดภัย
ยามเอ๋ย ยามเยาว์ ตัวเราเร่งคิดวินิจฉัย
ทำประโยชน์ให้โลกได้อย่างไร จึงจะไม่เสียทีที่เกิดมา
ความเอ๋ย ความคิด รู้ผิดรู้ชอบประกอบผล
คิดทางก้าวหน้าพาตน ผ่านพ้นยุคเข็ญร่มเย็นเอย
เอื้อเอ๋ย เอื้อเฟื้อ ผู้ใดขาดเหลือจงอุดหนุน
อันความเมตตาการุณ จักค้ำจุนโลกไว้ให้ร่มเย็น
ความเอ๋ย ความคิด ย่อมติดตามตนทุกหนแห่ง
เผาใจดังไฟอันร้อนแรง เมื่อแจ้งใจอย่าคิดทำผิดเลย
รักเอ๋ย รักตัว อย่ามัวเมาลุ่มหลงพะวงหา
ความชั่วโฉดเฉาเร้ากายา จักพาตนให้ไร้สุขเอย
ห่างเอ๋ย ห่างไกล อย่าทำใจใฝ่จิตริษยา
เห็นผู้อื่นได้ดีมีหน้าตา เร่งหาความดีไว้ใส่ตนเอย
ชาติเอ๋ย ชาตินี้ เร่งทำความดีเข้าเถิดหนา
อย่าให้เสียทีที่เกิดมา อย่าปล่อยให้เวลาล่วงเปล่าเอย

45.มดแดง
มดแดงเอย มีแรงหนักหนา
ใครถูกกิ่งมะม่วง เจ้าก็ร่วงลงมา
ปากกัดก้นต่อย ช่วยกันไม่น้อยหน้า
ไม่มีใครกล้า ระรานเจ้าเอย

46.ม้า
ม้าอาชาไนย เลี้ยงไว้ขับขี่
ประโยชน์มากมี แต่ครั้งโบราณ
ยามศึกขี่รบ ยามสงบสื่อสาร
ฝึกให้ชำนาญ เต้นคึกคะนอง

47.เมฆฝน
เมฆฝนกล่นเกลื่อนตา เมฆดำหนาน่าพรั่นพรึง
เสียงลมพัดตึงตึง ดุจเภรีที่ประโคม
ให้เมฆฝนเต้นรำ แลโลดแล่นบนโพยม
เสียงฟ้าผ่าครึกโครม ดังหนักหนาน่าหวั่นกลัว

48.แม่ไก่
แม่ไก่ตัวใหญ่ สีแดงสดใส
ไข่อยู่ในเล้า ไข่เสร็จดีใจ
ร้องไปใช่เบา เป็นการบอกกล่าว
ฉันไข่แล้วจ๊ะ กระต๊าก กระต๊าก กระต๊าก
พ่อไก่ได้ยิน กระพือปีกบิน
โก่งคอขันจ้า กระโต๊ก กระโต๊ก กระโต๊ก
หมาใหญ่ดีใจ ที่ไก่มีไข่
จึงเห่าเสียงใส ดีใจด้วยจ๊ะ โฮ่ง โฮ่ง โฮ่ง
อยู่บ้านเดียวกัน รักกันไว้ดี
ใครมาข่มขี่ ก็สู้ได้จ๊ะ

49.แมวน้อย
แมวน้อยน่ารัก รู้จักประจบ
เคล้าเคลียเลียซบ ตะปบเบาเบา
คอยจ้องจับหนู ชอบอยู่หน้าเตา
ทุกวันค่ำเช้า กินข้าวในจาน

50.แมวเหมียว
แมวเหมียวเอย เที่ยวตามหลังคา
เชิญเจ้าลงมา หาน้องหน่อยเอย

51.ไม้กระดก
ขึ้น ขึ้น ลง ลง เจ้าจงนั่งเล่น
อย่าผลักอย่าดัน ช่วยกันละเว้น
ถ้าตกลงมา เจ็บจนเนื้อเต้น
ระวังเมื่อเล่น ไม้กระดกเอย

52.ไม้ดอก ไม้ใบ
ไม้ดอกไม้ใบ ปลูกไว้งามตา
ช่วยกันรักษา ให้ดูสดใส
อย่าถอนอย่าทึ้ง โกรธขึ้งมันไย
มันทำอะไรให้ แต่ชาติไหนมา
ดอกไม้สีสดสวย เราจงช่วยกันรักษา
เก็บเล่นหมดราคา สักประเดี๋ยวก็เหี่ยวลง

53.รู้จักคำ
อะ อา อิ อี ตา สี ถู หู
อะ นะ อะ ไร อี ดี ซี มี
พา ม้า มา ขี่ สู ดู รู ปู
อำ ไอ ใอ โอ ทำ ไม ใบ โต
กำ คำ ทำ ได้ นำ ยำ รำ งำ
ไก่ ดำ ให้ ไข่ ขำ จำ ไว้ ได้
ไข่ ใบ โต โต วัว ตัว โต โต
ไก่ แจ้ เซ โซ ไก่ อู ตะเภา
ตำ คำ ซื้อ ไข่ เอา ไป ให้ เขา
ได้ ไข่ เน่า เน่า แก ก็ โม โห
เวลา ไถ นา เกะกะ มือ ขา
ตาสี โอ้ เอ้ มือเขา ถือ ไถ
ไปปะ ตอ เซ ตาสี ตา เข
หัวก็ คะ มำ

54.โรงเรียน
โรงเรียนของเรานี้ เป็นสถานที่ควรรักษา
ความสะอาดทุกเวลา มองสุขตาพาสุขใจ

55.ลมพัด
ลมเอยลมพัด ต้นไม้สะบัดกิ่งไกว
กล่อมลูกนกให้ นิ่งนิทราเอย

56.ลิง
ลิงเล็กแสนกล อยู่บนกิ่งไม้
ชอบปีนชอบป่าย ห้อยโหน
คนเอามาหัด ให้จัดเจนตัว
ออกท่าชวนหัว ยิ้มยั่วลิงเสม

57.ลิง
ฝูงลิงวิ่งไต่ต้นไม้ โหนรากไทรไล่กันเกรียว
ดูสนุกสุขจริงเจียว พวกเจ้าจ๋อหยอกล้อกัน

58.ลิงลม
ลิงลมเอย เจ้าอมลูกกล้วย
หน้าตาไม่สวย สองแก้มกางเอย

59.สะอาดซักนิด ชีวิตจะสุข
คนที่สะอาด ปราศจากโรค
เป็นคนมีโชค ร่างกายแข็งแรง
ไม่เจ็บไม่ไข้ จิตใจเข้มแข็ง
อย่าได้คลางแครง จงจำคำไว้
จะกินอาหาร ทานผลไม้
ล้างมือเราไซ้ ทุกวันเวลา
เศษผงติดตัว ที่ติดมือมา
ไปกับคงคา ไม่มีพิษภัย
ใบตองขยะ ละไว้ไม่ได้
จงช่วยเก็บใส่ ที่ในถังผง
เมล็ดผลไม้ อย่าได้ทิ้งลง
พื้นพวกเราจง จำไว้ให้ดี
ถนนหนทาง กว้างขวางมากมี
ยวดยานขับขี่ เร็วรี่รีบไป
เศษแก้วตะปู มีอยู่ทิ้งไว้
เก็บไปให้ไกล ปลอดภัยผู้คน
แม่น้ำลำคลอง ลองเชื่อสักหน
สิ่งโสโครกล้น อย่าทิ้งลงไป
มีน้ำสะอาด ปราศจากโรคภัย
โรคร้ายจะได้ ไม่มีระบาด
ปลูกต้นไม้ใหญ่ ไว้กรองอากาศ
ฝุ่นละอองก๊าซ พิษไม่ย่ำยี
ถ้าเราหายใจ เราจะได้มี
อากาศดีดี หายใจได้นาน
ร่างกายสดใส ใจคอเบิกบาน
กอบกิจการงาน ได้ผลมากมาย
จะเรียนสิ่งใด ก็ได้สมหมาย
แข็งแรงสบาย โรคภัยไม่กวน

60.หน้าฝน
หน้าฝน น้ำท่วมท้นเอ่อตามสนามหญ้า
เมฆชะอุ่มชุ่มชื้นในนภา ฝนปรอยทุกเวลาเช้าถึงเย็น

61.หน้าแล้ง
หน้าแล้ง แผ่นดินแห้งแตกระแหงทุกหย่อมหญ้า
ลมหนาวก็รำเพยพัดมา เหล่าพฤกษาสารพัดสลัดใบ

62.หมอนวด
เหมียว เหมียว เหมียว เจ้าไปเที่ยวที่ไหนมา
มานวดนายที ปวดเมื่อยแข้งขา
เจ้าอย่ากางเล็บ ขยุ้มเนื้อเจ็บเลยนะแก้วตา
เหมียว เหมียว เหมียว นวดนายหลายเที่ยว
จะได้รางวัลหัวปลา


63.หมา
หมาเป็นเพื่อนดี มีความซื่อสัตย์
จำได้แน่ชัด กลิ่นเสียงเจ้าของ
หน้าที่เฝ้าบ้าน ใครผ่านแลมอง
ไม่ใช่เจ้าของ เห่าก้องเสียงดัง

64.หิ่งห้อย
หิ่งห้อยเอย ตัวน้อยน่าดู
อยู่ตามต้นลำพู ส่องแสงวาบวับเอย

65.เห็ดตับเต่า
เห็ดตับเต่าติดตามตม เห็ดไม่ขมกินอร่อย
เห็ดตับเต่ามิใช่น้อย แกงอร่อยจริงจังเอย

66.อย่า อยู่ อย่าง หยาก
อย่างอยู่อย่างคนชั่ว ซึ่งเมามัวทำบาปกรรม
อยู่อย่างคนดีทำ ประโยชน์ให้แก่ปวงชน
อยากให้ใครเขาชอบ เร่งประกอบเหตุและผล
ให้ดีดีจะดล มีแต่สุขทุกเวลา
อย่าอยากได้ของเขา อย่าย่องเบาเขาจะว่า
อยู่อย่างอนาถา ยังดีกว่าเป็นขโมย

67.อะไรอยู่ในตู้
อะไรอยู่ในตู้ หมูออมสิน
อะไรอยู่ในดิน ก้อนหินใส
อะไรอยู่ในไห ไข่ฟองโต
อะไรอยู่ในโถ แตงโมหวาน
อะไรอยู่ในพาน ลูกตาลสด
อะไรอยู่ในรถ มดตัวใหญ่
อะไรอยู่ในไข่ ลูกไก่ดำ
อะไรอยู่ในน้ำ ปลาสามตัว
อะไรอยู่ในบัว ตัวผีเสื้อ
อะไรอยู่ในเรือ เสื้อสีฟ้า
อะไรอยู่ในตะกร้า ปูม้าปูทะเล
อะไรอยู่ในเปล เออ อะไรหนอ อ้อตุ๊กตา
68.อะไรเอ่ย
ตัวอะไรใหญ่ยิ่งนัก หนูรู้จักจงทักทาย
งวงงาใหญ่ใจหาย แรงเหลือหลายจงทายดู (ช้าง)
ตัวขาวราวปุยฝ้าย ทั่วร่างกายมีขนฟู
ยาวสุดนั้นคืดหู แต่หางนั้นสั้นนิดเดียว (กระต่าย)
ขนขำดำมันดี บางตัวมีสีมอมอ
หางสั้นแต่ไม่งอ มันชอบพอกินผึ้งรวง (หมี)
สัตว์เลี้ยงฉันมี ชอบร้อง ฮี้ ฮี้
วิ่งเร็วรีบรี่ กับ กับ เร็วไว
มันชอบกินหญ้า เรียกมาทันใด
ตัวมันสูงใหญ่ ตัวอะไรทายซิ (ม้า)
สัตว์เลี้ยงของฉัน ก็แสนน่ารัก
ใคร ใคร รู้จัก ฉันเรียกเจ้าด่าง
หน้ามันแหลมยาว ฟันขาวเขี้ยวกาง
จมูกใช้นำทาง ทายซิอะไร (หมา)
สัตว์เลี้ยงของฉัน นั้นมันน่ารัก
ใคร ใคร รู้จัก ฉันเรียกเจ้าเหมียว
ตามันกลมกลม ฟันคมมีเขี้ยว
มันร้องเหมียวเหมียว ทายซิอะไร (แมว)

69.อึ่งอ่าง
อึ่งอ่าง ร้องครวญครางทำไมเล่าเจ้าหนู
หรือเจ้าร้องเรียกฝนให้เอ็นดู ตกมาสู่แผ่นดินที่เจ้านอน

คู่มือครู บทที่ 4.

ตารางเวลา


ครูจะหาเวลาจากไหนทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ได้ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับครูที่จะมีชั้นเรียนแนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติฯ ที่จัดการเรียนการสอนได้อย่างลื่นไหล ทำกิจกรรมหลายอย่างได้ดังใจหมาย ให้คิดภาพรวม แล้ววางแผนตามนั้น แม้จะมีการเสียเวลาไปบางขณะ ครูก็ยังมีเวลาส่วนเหลือจากการจัดแผนที่ดี โดยการปฏิบัติตามขั้นตอนนี้

๑. ตรวจวิเคราะห์แผนตารางการใช้เวลาของครูปัจจุบันพิจารณาดูกรอบ ขีดจำกัดของตารางเวลารวมของโรงเรียน และเพิ่มข้อคิดต่อไปว่า : ครูสอนกันเป็นทีมหรือไม่ เด็กๆมีการเปลี่ยนชั้นเรียนไหม? วิชาพิเศษ ( ศิลปะ ดนตรี พละ ) จะเข้าสอดคล้องกับตารางไหม? วิชาสำคัญบางวิชาต้องการเวลาเฉพาะนานเพียงใด

๒. ให้มองการทำงานทั้งวันยางติดต่อกันไปเป็นองค์รวมที่พอเหมาะมากกว่าจะจัดเวลาแบบแบ่งเป็นช่วง เป็นคาบแยกจากกัน รวมกิจกรรมให้ต่อกันเพื่อประหยัดเวลา ส่วนเวลาอ่านออกเสียงให้เป็นช่วงพักบ้าง จัดเวลาการรวมกลุ่มหรือการเข้ามุมการเรียนรู้ให้เป็นกิจวัตร

๓. ประหยัดเวลา โดยการวางแผนการเรียนการสอนตามหัวเรื่อง โดยอาศัยหน่วยในการเรียนรู้บูรณาการ เนื้อหาวิทยาศาสตร์ สังคม สุขอนามัยไปในขณะที่ใช้ภาษาเรียนรู้หัวเรื่องนั้นๆพร้อมกัน และใช้เวลาสำหรับการอ่านและเขียนที่มากพอจะช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการบูรณาการวิชาต่างๆได้เสมอในการจัดหลักสูตร
วางแผนจัดกลุ่มเด็ก

การจัดกลุ่มควรยืดหยุ่น และหลากหลายเพื่อประสิทธิผลในการใช้เวลาตามตาราง ปรับเปลี่ยนไปโดยใช้จำนวนสมาชิก และความสามารถที่แตกต่างกัน ความถนัดในทักษะที่เป็นแบบเดียวกันบ้างคละกันบ้าง ตามความสนใจบ้างคละกันหญิง-ชาย เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้จากเพื่อนในขณะทำกิจกรรม
เมื่อจัดกลุ่มเข้ามุมการเรียนรู้แล้ว ให้พิจารณาถึงเพศ การเติบโต ความพร้อมของเด็กบุคลิกภาพของเด็กแต่ละคน จำนวนเด็กในกลุ่มย่อย ในแต่ละกลุ่มจะขึ้นอยู่กับขนาดของชั้นเรียน ( ไม่ควรเกิน ๕ คน ) และการจัดตามวิถีหรือการออกแบบของครูแต่ละคน ให้แต่ละกลุ่มมีผู้นำตั้งโดยครูหรือเลือกกันเองตามความเหมาะสม ครูช่วยตอบคำถาม ช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มและดูแลให้งานดำเนินต่อไป กลุ่มและผู้นำกลุ่มอาจมีการสับเปลี่ยนตามความต้องการได้ทุกวัน ทุกสัปดาห์หรือเมื่อมีความจำเป็น

วางแผนแต่ละวัน

เมื่อดูตารางเวลาประจำวันและแผนการสอนของเด็กเล็ก ดังตัวอย่างข้างล่างนี้จะสามารถนำมาวางแผน และจัดห้องเรียนในแนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติ โดยให้คำนึงถึงช่วงเวลาที่สามารถปรับยืดหยุ่นได้เองในแต่ละวัน

ตัวอย่างตารางกิจวัตรประจำวัน

๘.๓๐ น. เริ่มกิจกรรมยามเช้า (อ่านหนังสือโปรดปราน / เคลื่อนไหว)

๙.๐๐ น. คณิตคิดคำนวณ

๙.๔๕ น. พักอาหารว่าง

๑๐.๐๐ น. การเรียนรู้ภาษา

๑๑.๓๐ น. กิจกรรมกลางแจ้ง

๑๒.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ น. กิจกรรมตามหัวข้อเรื่อง (สังคม วิทย์ สุขศึกษา)

๑๔.๐๐ น. อ่านในใจ อ่านเงียบๆ ประจำวัน

๑๔.๓๐ น. กิจกรรมพิเศษ (ดนตรี ศิลปะ พละ ห้องสมุด คอมพิวเตอร์)

๑๕.๑๐ น. สรุปทบทวนกิจกรรมปิดท้ายวัน

๑๕.๓๐ น. กลับบ้าน

ตัวอย่าง แผนการเรียนการสอน ระดับเด็กเล็ก ก. ญ. = กลุ่มใหญ่

ก.ย. = กลุ่มย่อย

ด. = เดี่ยว

หัวข้อเรื่อง : โรงเรียน วันที่ :

กิจวัตรประจำวัน ในห้องเรียนแบบภาษาแนวธรรมชาติ – ระดับเด็กเล็ก

๘.๓๐ – ๙.๐๐ น. เริ่มชั้นเรียน

เด็กๆในเวลาอยู่เองตามลำพังให้เริ่มต้นด้วยการส่งเสริมให้เด็กๆรู้จักรับผิดชอบการเรียนรู้ของตน ด้วยการเลือกกิจกรรมเอง ในเวลาอิสระที่ให้ครูไม่จัดงานที่นั่งโต๊ะ แต่เด็กๆจะเลือกกิจกรรมเหล่านี้เองตามความสนใจศูนย์การเรียนต่างๆที่ครูแนะนำ  เขียนบันทึกที่ต้องการที่ชอบ หนังสืออ่านทั่วไป หรือตามหน่วยงานแลกเปลี่ยน หนังสือนิตยสารไปห้องสมุด

๙.๐๐ – ๙.๔๕ น. คณิตคิดคำนวณ

หัวข้อ : ใช้แท่งไม้เป็นอุปกรณ์ในการคิดคำนวณ เด็กๆจะจับคู่กันสองคนและเขียนโจทย์เขียนคำตอบ ตามคำสั่งการแก้โจทย์ปัญหาที่ให้ลงในกระดาษ แล้วกลับมานำเสนอกับกลุ่มใหญ่เมื่อถึงเวลาสรุป

๙.๔๕ น. – ๑๐.๐๐ น. (พัก) อาหารว่าง

๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. การเรียนรู้ภาษา

อุ่นเครื่อง – ใช้เทคนิคเปลี่ยนกิจกรรมเพื่อให้เด็กปรับอารมณ์และอยู่ในความสงบ พร้อมที่จะเรียนเรื่องภาษาต่อ โดยใช้โคลงกลอน เพลง การเคลื่อนไหว ให้เชื่อมโยงกับหน่วยที่เรียนด้วยช่วยกันอ่าน ( Shared Reading) ครูแนะนำหนังสือประจำสัปดาห์
อ่านหนังสือ เช่น “โรงเรียน” ออกเสียง หลังจากอ่านแล้วให้พูดคุยกันในเรื่องที่อ่าน
เขียนลงในตารางบันทึกของตนเอง(Reading Response Logs) แล้วจึงพูดถึงต่อไป
นักเขียน คนแต่งหนังสือในมุมนักเขียน นักเขียนประจำสัปดาห์ ครูอ่านชื่อหนังสือแล้ว แนะนำผู้แต่งหนังสือ เล่าประวัติให้เด็กๆฟัง และแนะนำเล่มอื่นๆให้เขาเขียนด้วย

หนังสือทั้งหมดจะวางไว้ในมุมตลอดสัปดาห์ มุมการเรียนรู้ ครูแนะนำมุมทั้ง ๖มุม เดินไปทุกมุมและกิจกรรมหรืองานที่ทำใช้มุมละประมาณ ๒๐ นาที โดยเด็กควรจะอย่างน้อยได้เข้า ๓ มุมจาก ๖ มุม ถ้ายังมีเวลาเหลือก็เลือกเพิ่มอีก ๑ มุม

กลุ่ม ๑ – บทเรียนในการอ่านหนังสือได้หลายเล่ม (คือความรู้ ข้อมูล จากวรรณกรรม) ใช้สำเนาบทความหรือเรื่องจากหนังสือ และชี้ให้เด็กๆเห็นว่า เราได้ข่าวสารมากมายจากหนังสือเหล่านี้ และมองเห็นระหว่างความจริงกับนิทาน นิยาย สนทนาด้วยกัน

กลุ่ม ๒ – เพื่อนอ่านให้ฟัง ใช้เสียงค่อยๆอ่านหนังสือของนักเขียนประจำสัปดาห์ แต่ไม่ให้รบกวนเพื่อน

กลุ่ม๓ – มุมวิทย์ ใช้รูปและบัตรสร้างประโยคเรื่องวงจรน้ำที่ถูกต้อง เขียนผังตามที่แสดงได้

กลุ่ม ๔ – บัตรคำศัพท์ เด็กๆสร้างบัตรคำกันเองตามเรื่องวงจรของน้ำ จับคู่และเรียงบัตรแยกบัตรในแบบต่างๆไล่เรียงอักษร ตามสรรพนาม คำกริยา

กลุ่ม ๕ – มุมศิลปะ ทำหนังสือรูปทรงไว้ใช้ในงานบันทึก เรื่องการทำน้ำให้สะอาด ไว้ใช้ในโรงเรียน เมื่อออกไปทัศนศึกษา

กลุ่ม ๖ – มุมการฟัง (ใส่แถบบันทึกเสียง) เด็กๆฟังเทปที่ครูจัดทำสำเนาไว้ โดยอาจมีเสียงครูพูดถึงการออกแบบหนังสือของเด็กๆ และของนักเขียนหลายๆ เช่น กรุณาสังเกตห้องเรียนครูด้วยอะไรคือความจริงจากที่เรียนวงจรน้ำ

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. อาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. ( พักนอนในชั้นอนุบาล ๑ – ๒ ส่วนอนุบาล ๓ จัดมุมให้นอนงีบตามความต้องการของเด็ก)
เรียนเนื้อหาตามหัวเรื่อง (วิทย์ : เน้นวงจรของน้ำ การระเหย ) เพื่อให้วิทย์กับหัวข้อเรื่องโรงเรียนเชื่อมโยงกันได้ ใช้หนังสือ The Magic School Bus as the Waterworks ครูเริ่มอ่านในช่วงแรก และให้เด็กๆอ่านตามในบทต่อๆมา กลุ่มย่อยสังเกตการณ์ระเหยของน้ำใส่ภาชนะไว้เปรียบเทียบกัน อันหนึ่งปิดฝา อีกอันหนึ่งเปิดฝา เป็นต้น

๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. อ่านในใจ

เด็กๆเลือกหนังสือ เล่มสองเล่ม และอ่านเขียนในใจ ที่มุมหนังสือสบายๆ ฝึกอ่านไม่คุยกัน ไม่พลิกหนังสือดังๆ ให้นั่งอยู่กับที่ไม่ลุกไปไหนระหว่างอ่าน อ่านเขียนประจำวัน

๑๔.๓๐ – ๑๕.๑๐ น. กิจกรรมพิเศษ

พบครูพละและลงเล่มสนามใหญ่

๑๕.๑๐ – ๑๕.๓๐ น. ทบทวนก่อนกลับบ้าน
เด็กๆ มานั่งรวมกันกลางห้องบนพื้น ทบทวนทั้งวันที่ผ่านมา แล้วเตรียมวางแผนสำหรับวันต่อไป อธิบายการบ้านที่ให้ทำ (อ่านหนังสือ ๒๐ นาที )

ปิดวันเรียนด้วยคำพูดที่สนุกสนานหรือลับสมอง การทายปัญหาก่อนกลับ ทั้งครูหรือเด็กจะนำก็ได้

คู่มือครู บทที่ 3.

การวางแผนการเรียนการสอนโดยใช้หัวข้อเรื่อง


หลักการ
อะไรคือ หัวข้อเรื่อง

(หัวข้อเรื่อง/ใจความสำคัญ/แก่นสาร/แนวเรื่อง/หัวข้อการอภิปราย/หัวข้อในการสนทนา)
การเลือกหัวข้อเรื่องตามเนื้อหาในหลักสูตร คือการนำวิธีวิทยา (Mothod) มาใช้ในการจัดการ เรียนการ
สอน จัดวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ให้เกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างเป็นธรรมชาติ

ทำไมครูจึงควรจัดบทเรียนแบบหัวข้อเรื่อง ?

• เด็กๆ เรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อหลักสูตรนั้นคือการบูรณาการและสอนแบบองค์รวม

• หัวเรื่องหรือหัวข้อที่ใช้ ช่วยให้ฝึกทักษะ ผ่านกิจกรรม การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง

• หัวข้อเรื่องในการเรียน ทำให้มีการวางแผนได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

• หัวข้อเรื่องอาจขยายวงกว้าง หรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับความต้องการของเด็กๆ ในแต่ละปี

• เด็กๆ สามารถวางแผนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ด้วยกันได้


จัดการเรียนการสอนโดยใช้หัวข้อเรื่องอย่างไร? ให้เป็นระบบ

ก. เลือกเรื่องที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย/เด็กสนใจ
หัวเรื่องที่น่าสนใจทำให้เด็กๆกระตือรือร้นอยากเรียนและเรียนด้วยความสนุกสนาน ครูต้องพิจารณาเนื้อหาและพึ่งประสงค์ในหลักสูตร แล้วจึงเลือกหัวข้อให้สอดคล้องกับ แหล่งที่มา ของเรื่องก็คือจากเด็ก จากครู จากฤดูกาล(ในประเทศนั้น) วันสำคัญ เหตุการณ์ กรอบเนื้อหา ที่หลักสูตรกำหนด และหนังสือต่างๆ หนังสือวรรณกรรมและหนังสือความรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนที่ใช้เป็นแนวเรื่อง คุณครูควรเลือกหนังสือที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับหัวเรื่องที่เลือกไว้ในห้องสมุด มีหนังสืออ้างอิงมากมาย เช่น นิทานเรื่องเด็กชายก. เดินไปขึ้น ฮ. โดยม้านิลมังกร (นามปากกา)ครูเขียนรายชื่อหัวข้อย่อยในเรื่องที่เรียน สำหรับเด็กเลือกได้


ครูเขียนรายชื่อหัวข้อย่อยในเรื่องที่เรียน สำหรับเด็กเลือกได้

. การวางแผนและทำให้เป็นระบบ
๑. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรใน หัวเรื่องนั้น แล้วระดมสมองกับเด็กๆ เพื่อตรวจ
สอบประสบการณ์เพิ่ม และเพื่อรู้ว่าเขาต้องการรู้ อะไรเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ครูและนักเรียนช่วยกันคิด
ว่ามีอะไรที่เกี่ยวเนื่องกันบ้างในแต่ละหัวข้อเรื่อง


๒. การจัดข้อมูลความคิดอย่างง่ายๆ ตามเนื้อหาและองค์ประกอบของภาษา (การฟัง การพูด การ อ่าน การเขียน) ตัวอย่างข้างล่างนี้แสดงให้เห็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการระดมสมองบันทึกลงในโครงร่างของหัวข้อใหญ่ เป็นการบรูณาการทุกแขวงวิชาเข้าสู่หัวเรื่องเดียวกัน
การเขียนหัวข้อเรื่องหรือจะพูดกลับกันก็ได้ว่าเป็นการจัดข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหัวข้อ

เรื่อง ๑ หัวข้อ แล้วระดมความคิดออกได้ทุกแขวงวิชา ซึ่งล้วนเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกับหัวข้อนั้นๆ
รูปแบบการวางแผนตามหัวข้อเรื่องต้องมีการจัดการความคิด (ตามบริบทสังคมไทย) อย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมตอบสนองการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การเล่นละครสร้างสรรค์ เกมการละเล่น ดนตรีและเคลื่อนไหว ภาษาพูด อ่าน เขียน คณิต วิทย์ สังคม ศิลปะ โภชนา รายชื่อหนังสือพร้อมผู้แต่ง และข้อมูลต่างๆ สาระสนเทศ การใช้หน่วยเนื้อหา การสื่อสารนั้นทำได้หลายระดับชั้น อนุบาลใช้เนื้อหาง่าย และยากขึ้นๆ ในระดับประถม ซับซ้อนตามลำดับวัย

แบบการวางแผนหัวข้อเรื่อง หรือจะพูดกลับกันก็ได้ว่าเป็นการจัดข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหัวข้อ
เรื่อง ๑ หัวข้อ แล้วระดมความคิดออกได้ทุกแขวงวิชา ซึ่งล้วน เชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกับหัวข้อนั้นๆ


รูปแบบการวางแผนตามหัวข้อเรื่องต้องมีการจัดการความคิด (ตามบริบทสังคมไทย) อย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมตอบสนองการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การเล่นละครสร้างสรรค์ เกมการละเล่น ดนตรีและเคลื่อนไหว ภาษาพูด อ่าน เขียน คณิต วิทย์ สังคม ศิลปะ โภชนา รายชื่อหนังสือพร้อมผู้แต่ง และข้อมูลต่างๆ สาระสนเทศ การใช้หน่วยเนื้อหา การสื่อสารนั้นทำได้หลายระดับชั้น อนุบาลใช้เนื้อหาง่าย และยากขึ้นๆ ในระดับประถม ซับซ้อนตามลำดับวัย


แบบการวางแผนหัวข้อเรื่อง


หัวข้อเรื่อง/หน่วย


โคลงกลอน/เพลง/หนังสือ-นิทาน จาก ไปรษณีย์ที่รัก  จดหมายถึงน้องแป้ง  สังคมศึกษา/วิทย์/สุขศึกษา


-เลือกด้านหนึ่งของอาชีพในที่ทำการไปรษณีย์เพื่อรายงานสั้นๆและใส่ระยะเวลาในการค้นคิดปรากฏการณ์ด้านคมนาคม

-เปรียบเทียบการโทรเลขกับโทรศัพท์ รายชื่อ รายการ สภาพอากาศ รายงาน ค้นพบ การทำงานของวิทย์ สร้างความชัดเจนในสื่อทุกชนิด


คณิตศาสตร์

หนังสือตำราที่คัดเลือกแล้ว เรื่องราวของปัญหาต่างๆ ดวงตราไปรษณีย์ ตำราด้านการคมนาคมสื่อคุณค่า และแผนกต่างๆที่ต้องส่งสาร(บอกชื่อผู้แต่ง) ถกวิเคราะห์เป้าหมายการเขียน ทำหนังสือเล่มใหญ่หลังจากฟังเรื่อง  อ่านเรื่องกบและเพื่อนำจดหมายพูดอภิปราย การชั่งจดหมายและหีบห่อ มีการคิดคำนวณ ราคาอย่างไร สังคมศึกษา และกิจกรรมศิลปะ


ศิลปะ


-ทำหุ่นถุงกระดาษจากนิทานที่ฟัง และเด็กๆเล่นหุ่นตามที่เข้าใจ

-ทำแผ่นกระดาษเป็นหุ่นตามเรื่องที่ฟัง

-ออกแบบดวงตราไปรษณียากรและให้เหตุผลอธิบายว่าทำไมจึงใช้แบบนี้

-ทำจอดโทรทัศน์จำลองหรือการจำลองห้องส่งอธิบายนำเสนอเรื่องราวด้านงานศิลปะในแขนงการ
สื่อสาร ศูนย์กลางกิจกรรมการเรียนรู้

การเขียน :   สมุดไปรษณียบัติ ออกแบบ เก็บที่อยู่


คณิต :   การชั่งน้ำหนักจดหมาย


คอม : เขียนวัตถุประสงค์  วิเคราะห์ถามความรู้สึก การรับจดหมาย การเขียนถึงเพื่อน  อ่านเรื่องคนทำงาน ที่ทำการไปรษณีย์ ก ถึง ฮ เรียนขั้นตอนการทำงานคนทำงาน เด็กทุกคนเขียนและวาดเรื่องสั้น ที่เขาชอบที่สุด
อ่านเรื่อง “ไปรษณีย์ที่รัก” อภิปรายเขียนรายชื่อ คำกลอนเป็นแผงใหญ่ แผนที่ใหญ่ให้เด็กๆ เล่าเรื่องและวางตำแหน่งตามแผนที่อย่างถูกต้องเป็นขั้นตอน ตอบจดหมายเป็นรูปแบบต่างๆ  พูดถึงที่มาของไปรษณียากร ออกแบบตามความคิด หรือสถานที่เกี่ยวกับการเดินทางเมืองต่างๆ ของที่ระลึก ของเล่น อาหาร กิจกรรม ประเพณี  เขียนจดหมายถึงนักเขียน  เขียนเกี่ยวกับหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งทุกวัน

หัวเรื่อง :  เขียนขั้นตอนการส่งจดหมายที่ถูกต้องชัดเจน

สังคม : ให้เห็นเส้นทางของจดหมายต้นทางปลายทาง


วิทย์ :  ค้นหาว่าโทรศัพท์ทำงานอย่างไร และเอาโทรศัพท์เก่าๆมาลื้อแยกส่วน


เหตุการณ์พิเศษ :  ทัศนศึกษาไปที่ทำการไปรษณีย์เชิญบุรุษไปรษณีย์ นักจัดรายการวิทยุ คนรับโทรศัพท์ /คนทำขนม คุกกี้ที่มีจดหมายอยู่ในขนม

กิจกรรมทางภาษา
แนะนำ “ การคมนาคม” ใช้หนังสือทำความเข้าใจในเรื่องคมนาคม อ่านเรื่อง นายนำบุรุษไปรษณีย์ เรื่องมิตรภาพ เรื่องจดหมายถึงแมว อภิปราย


ค. การรวบรวมวัสดุสื่อการเรียนการสอน   
 การจัดหน่วยการสอน และงานเอกสารเข้าแฟ้มให้เรียบร้อย เก็บสะสมวัสดุต่างๆ ในกล่องติดป้าย แจ้งว่าใช้ในหน่วยใด (เนื้อหาอะไร) รายชื่อหนังสือ และวัสดุอุปกรณ์ ติดไว้ไต้ฝากล่อง เพื่อไว้ตรวจสอบเวลาเก็บรวบรวม ในแต่ละคนจัดใส่หนังสือ (นิยามและสารคดี) โคลงกลอน กระดาษงาน ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะแถบบันถึกเสียง แผนที่ เกม ฝึกทักษะ เกมการศึกษา หุ่น เสื้อผ้า เครื่องอุปกรณ์ประกอบฉาก

ง.หาข้อมูลความรู้จากหลายๆแหล่ง


• มีส่วนร่วมกับเด็กๆ และรวมความคิดกับเด็กๆ ขณะที่ครูวางแผนหัวเรื่องนั้นๆ

• หารือกับฝ่ายสื่อ และห้องสมุด เพื่อช่วยหาหนังสือและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการ

• ตรวจดูโปรแกรมคอมพิวเตอร์ว่ามีหรือไม่

• ติดต่อครู ผู้ปกครอง ชุมชน ที่ต้องการช่วยเหลือ

• เชิญผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์จากภายนอกมาให้ความรู้

• จัดทัศนศึกษาที่เหมาะสมกับเรื่อง

• แจ้งผู้ปกครองเรื่องเนื้อหาหน่วยที่เรียน และให้มีส่วนร่วมทุกครั้งเท่าที่จะทำได้

จ.การนำหัวข้อเรื่องลงใช้ให้เกิดผล


เมื่อขั้นวางแผนเรียบร้อยแล้ว ครูก็นับว่าพร้อมที่จะเริ่ม โดยการคัดเลือกกิจกรรมที่ใช้ผสมผสานกับ

หลักสูตรเฉพาะในแต่ละวันตามหัวข้อ เรื่องการสื่อสารนี้



วันจันทร์ที่ 16 เมษายน
  หน่วยการสื่อสาร

           แนะนำหน่วยการเรียนกับชั้นเรียนพร้อมกับการอุ่นเครื่องตอนเช้า ร้องเพลง “บุรุษไปรษณีย์จ๋า”สนทนาการเขียนจดหมาย เป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง ทั้งชั้นช่วยกันระดมสมอง ประสบการณ์เดิม ใครรู้เรื่องการรับ – ส่งจดหมายบ้าง เป็นการเขียนความรู้เดิมของแต่ละคนขึ้นบนกระดาน ทั้งกลุ่มลองเขียนจดหมาย คนละฉบับ


ศูนย์การเรียนในห้อง


         : มุมเขียน ทำหนังสือเกี่ยวกับบุรุษไปรษณีย์

         : มุมคณิต เป็นที่ใช้เขียนจำลองซื้อ – ขายดวงตราไปรษณีย์ การชั่ง ตวงน้ำหนัก

         : มุมศิลปะ ออกแบบตราไปรษณ์/แสตมป์

        : มุมฟัง มีแถบบันทึกเสียง เพลง ประวัติการสื่อสารในประเทศไทย / ของโลก

        : มุมวิทยุสนทนา หรือการขนส่ง รับ-ส่งปัญหาต่างๆ สภาพอากาศมีอิทธิพลส่งผลให้การส่งล้าช้าทั่วประเทศ โลก

ฉ. การประเมินความก้าวหน้าของเด็ก

วัดดูผลกระทบของหน่วยหัวข้อเรื่องที่มีต่อเด็ก โดยครูต้อง สังเกตความก้าวหน้า การทำกิจกรรมได้ตามเป้าหมายชิ้นงานที่เด็กทำด้วยวิธีการประเมิน ตนเองของเด็กและตัวครูด้วย โดยครูจัดทำแบบการวัดผลเป็นให้เด็ก ตอบปากเปล่า หรือเป็นการเขียนก็ได้


การประเมินหัวข้อเรื่อง


หัวข้อเรื่อง ชื่อครู


เด็กประเมินตนเอง


กิจกรรมที่ฉันชอบมากที่สุดคือ....................เพราะ............................


กิจกรรมที่อยากทำมากที่สุดคือ.........................เพราะ........................


ฉันได้ช่วยงามตามเนื้อหาโดย   การทำงานกลุ่ม  งานที่ทำอิสระ

ครูประเมิน


๑. เด็กมีส่วนร่วมในการอภิปรายอย่างไร ? ภูมิสนุกกับการพูดคุยในกลุ่ม สนใจงานของเพื่อนๆทุกๆคน

๒. เด็กเข้าร่วมทำกิจกรรมหลากหลายทั่วถึงหรือไม่? (กลุ่มใหญ่/ต่อกลุ่มย่อย/เดี่ยว)

๓. เด็กทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย ตามหัวข้อเรื่องหรือไม่ ? (ทำหนังสือ/เขียนจดหมาย/เข้ามุม/ค้นคว้าหาความรู้)

๔. กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กมีโอกาสแสดงออกได้มาก?

๕. มีกิจกรรมใดบ้างที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรนำมาใช้ ? เพราะเหตุใด

คู่มือครู บทที่ 2.

กระบวนการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม

การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน

ครูจะวางแผนกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรโดยใช้องค์ประกอบของศิลปะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน
คำว่า “องค์รวม” ในภาษาธรรมชาตินี้ หมายถึง แนวคิดที่ให้ผู้เรียน เรียนรู้โดยมีองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน
คือ การฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมๆกัน ไม่ใช่การ   เรียนแบบแยกส่วน เด็กจะประสบความสำเร็จสูงสุดก็ต่อ  เมื่อได้ใช้องค์ประกอบทั้งหมดอย่างเต็มที่ในกระบวนการ เรียนการสอน ดังนั้นครูจะเป็นผู้จัดสรร ประสบการณ์ที่มี  ความหมายต่อเด็กในด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน ในชีวิต  ประจำวัน เพื่อปูพื้นฐาน ทักษะและความสามารถ  ประกอบด้วยการเรียนภาษาที่ครบทั้ง 4 ด้าน และต้องให้  เด็กได้เชื่อมโยงองค์ประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกันอย่างเป็น ธรรมชาติและเป็นธรรม

การฟังและการพูด

เด็กเล็กๆ สามารถพัฒนาภาษาพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ เขาเรียนรู้คำศัพท์ การออกเสียง การแสดงความรู้สึก และรูปแบบของการพูด โดยการฟังและการพูดภาษาของเขาเอง ความจำเป็นในการฝึกให้เกิดความสามารถในการใช้ภาษาพูดเป็นพื้นฐานของความสำเร็จในการอ่านและการเขียน จึงควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ได้ฝึกฟังและพูดทุกวันเด็กจะสร้างความมั่นใจและภาคภูมิใจในตนเองและพัฒนาความมั่นใจในเรื่องคำศัพท์ โดยผ่านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางภาษา ลองมาดูความหลากหลายของกิจกรรมการฟังและการพูดในกิจวัตรประจำวัน ดังนี้

กิจกรรมเกี่ยวกับการฟังสำหรับเด็ก

1. ฟังเทปนิทาน หรือหนังสือสำหรับเด็ก

2. ฟังเทปที่อัดเสียงต่างๆ (เสียงน้ำไหล เสียงประตูปิด เสียงสุนัขเห่า ฯลฯ) แล้วบอกว่าเป็น เสียงอะไร

3. อัดเทปขณะอ่านหนังสือและฟังเทปนั้น

4. ฟังคนอ่านนิทานและเขียนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องตามลำดับก่อน-หลัง

5. อ่านหนังสือที่มีเรื่องเสียงให้ฟังและตั้งคำถาม

6. ฟังการรายงานข่าววิทยุหรือโทรทัศน์และพูดคุยในเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (ครูกรองข่าวก่อน)

7. เล่นเกมส์ ฉันสั่งว่า…ฉันบอกให้เธอ…

8. ปฏิบัติตามคำสั่งด้วยวาจาตามลำดับขั้นตอน

9. ไล่เรียงพยัญชนะ เลขและคำต่างๆ

10. ฟังเสียงสัตว์และบันทึก หรือเขียนเสียงที่ได้ยินออกมาเป็นคำที่เกิดจากการฟัง (อาจผิดหรือ

ถูกตามพัฒนาการ)

11. ฟังเทปบันทึกต่างๆ และพูดสนทนาถึงเรื่องที่ฟังในเชิงสร้างสรรค์

12. ฟังเสียงประกาศในตอนเช้า

13. ฟังการพูดจากวิทยากรรับเชิญ

14. เล่นเครื่องเสียง เช่น ตีกระดิ่งและขอให้เพื่อนฟังเสียงจังหวะดังกล่าว และพยายามเล่นตามที่ได้ยิน


กิจกรรมนอกห้องเรียน

1. เดินเล่นข้างนอกและทายเสียงต่างๆ ที่ได้ยินรอบตัว (ฟังอย่างตั้งใจ) จดจำไว้ แล้วจึงมา
สรุปอีกครั้ง ฝึกแยกแยะเสียงจากธรรมชาติและที่ไม่เป็นธรรมชาติ (สิ่งประดิษฐ์)

2. เล่นเครื่องเสียง เช่น ตีกระดิ่งและขอให้เพื่อนฟังเสียงจังหวะดังกล่าว และพยายามเล่นตาม ที่ได้ยิน

3. ฝึกการฟังที่อยู่ระยะใกล้ – ระยะไกล ให้เพื่อน ๆ พูดกระซิบใกล้หู แล้วเดินห่างออกไปสอง
ระยะสามระยะ เพื่อเชื่อมโยงว่าระดับเสียงกับระยะทางนั้นสัมพันธ์กัน


กิจกรรมเกี่ยวกับการพูดสำหรับเด็ก

1. ลองเล่าซ้ำสิ่งที่ได้ฟัง

2. เล่นบทบาทสมมติจากนิทาน

3. ท่องบทกลอนหรือบทเพลง

4. อ่านนิทานออกเสียงดัง

5. อ่านบทเพลง อ่านโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

6. เล่าสู่กันฟังในเรื่องต่าง ๆ

7. รายงานด้วยการอ่านปากเปล่า

8. อ่านบทของตัวละครจากนิทาน

9. อ่านรายชื่อหรือรายการที่เขียนไว้

10. นำการเล่นเกมส์ด้วยการออกคำสั่ง ใช้คำสั่งให้ถูก

11. ร้องเพลง

12. อธิบายการทำโครงการตามหัวข้อเรื่องที่เลือก

13. เล่าถึงหนังสือเล่มที่โปรดปราน

14. จัดการแสดงละครหุ่นมือ หรือหุ่นชนิดต่าง ๆ

15. รายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ประจำวันที่มีสาระ

16. พูดคุยเรื่องทีมนักกีฬาท้องถิ่นหรือนักกีฬาทีมชาติที่ชื่นชอบ

17. ระดมสมองในหัวข้อเรื่องที่เลือกเรียน

18. อธิบายคำสั่งเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ

19. มีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์นักเขียนชั้นนำ หรือสัมภาษณ์วิทยากรที่เชิญมา ผู้ปกครองที่มา

ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน

20. จัดแสดงละครแบบกลอนสด (แบบคิดขึ้นทันทีทันควัน) โต้ตอบกันเป็นคู่ เป็นกลุ่ม

21. การเสวนาของกลุ่มย่อย ในหัวข้อเรื่องที่เรียน

22. เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาในห้องเรียน และจัดการสัมภาษณ์ โดยขออาสาสมัครให้เด็กเป็นผู้สัมภาษณ์ มีการเตรียมหัวข้อก่อน

การอ่าน คือการจัดตั้งกลุ่มนักอ่านซึ่งจะสร้างความสมดุลต่อ ประสบการณ์การอ่านในลักษณะต่าง ๆ ในห้องที่เรียนภาษาอย่างธรรมชาติ ผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
ระดับของพัฒนาการอ่าน

เด็กจะมีความก้าวหน้าผ่าน 3 ขั้นตอนในฐานะที่เป็นทั้งผู้อ่านและผู้เขียน การปรากฏขั้นอย่างเป็นธรรมชาติของการเป็นนักอ่าน การเริ่มต้นและอ่านอย่างคล่องแคล่ว ห้องเรียนของท่านอาจประกอบด้วยนักอ่านระดับใดระดับหนึ่ง ดังนี้

1. นักอ่านรุ่นแรกเริ่ม
เด็กเหล่านี้เพิ่งเริ่มตระหนักถึงพื้นฐานการอ่านและการเขียน ครูควรสังเกตเห็นการเริ่มเป็นนักอ่านที่ปรากฏขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ โดยปกตินักเรียนระดับเด็กเล็ก อนุบาลและประถมถือว่าอยู่ในระดับนี้ นักอ่านเหล่านี้ต้องการหนังสือประเภทที่ให้คาดเดาล่วงหน้าได้ที่สามารถดึงความสนใจไว้ได้สูง รวมทั้งธรรมชาติและภาษาที่เชื่อมโยงกับเนื้อเรื่องที่ฟังเข้าใจง่าย

2. นักอ่านรุ่นเตาะแตะ
คือการเริ่มต้นเป็นนักอ่านในระดับนี้เด็กจะเข้าใจพื้นฐานของทิศทางตัวหนังสือและพยายามเรียนรู้ให้เข้าใจด้วยกลวิธีที่หลากหลาย เขาสามารถอ่านและเขียนเรื่องในรายละเอียดและซับซ้อนมากขึ้นได้พอสมควร

3. นักอ่านรุ่นคล่องแคล่ว
เด็กๆ จะเป็นนักอ่านที่มีความมั่นใจในตนเอง เขาสามารถที่จะใช้กลวิธีที่หลากหลายในการอ่านเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ครูสามารถคาดหวังจากเด็กตั้งแต่ระดับชั้นประถม 2 ขั้นไป ที่จะมีความสามารถในระดับนี้ได้

การจัดประสบการณ์ที่หลากหลายในการอ่านให้เด็ก

การยอมรับและเข้าใจถึงความต้องการของเด็กๆ ว่ามีความสามารถในการอ่านเสียงชัด จะช่วยครูในการวางแผนการสอนการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ใช้หนังสือเด็กที่มีคุณภาพ เป็นจุดเน้นในการสอนร่วมกับการทำกิจกรรมที่เหมาะสมดังต่อไปนี้ สำหรับผู้อ่านทุกคน

การอ่านร่วมกัน

การอ่านร่วมกันเกิดขึ้นได้ในรูปแบบการสอนที่เป็นทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ เด็กๆ จะฟังครูที่เป็นตัวอย่างที่ดีอ่านวรรณกรรมที่มีคุณภาพ เด็กเล็กๆ สามารถร่วมอ่านไปพร้อมกับครู ในช่วงของการอ่านตาม จากการอ่านในแต่ละครั้ง เด็กๆ จะสามารถอ่านข้อความได้มากขึ้นและในที่สุด เขาจะสามารถเลือกอ่านอย่างอิสระในส่วนที่เขาต้องการ การอ่านหนังสือร่วมกันนี้ช่วยเด็กให้สนุกกับการอ่านหนังสือ การอ่านในลักษณะนี้เป็นวิธีการที่จะให้เด็กที่มีอายุมากกว่าได้เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ จากผู้อื่น


ขั้นตอนในการอ่านหนังสือร่วมกัน

1. ครูคัดเลือกหนังสือเล่มใหญ่หรือนิยายเรื่องหนึ่งหรือบทเรียนหนึ่งที่เหมาะกับเด็ก

2. ครูแนะนำหนังสือพร้อมทั้งชี้ระบุซื่อเรื่อง ผู้แต่งและผู้วาดภาพประกอบ และให้เห็นความสำคัญของหนังสือ

3. ครูควรกระตุ้นให้เด็กคาดการ เดาว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปในหนังสือ

4. ครูอ่านเสียงดัง แสดงให้เห็นการจับหนังสือที่ถูกต้อง การอ่านจากซ้ายไปขวา การแสดงถึงความรู้สึกและความกระตือรือร้นในขั้นต้นควรชี้นิ่งตามคำที่อ่าน และอ่านติดต่อกันในจังหวะเหมาะสม

5. เมื่ออ่านเสร็จ ครูจะเป็นผู้นำการพูดคุยถึงหนังสือดังกล่าวและกระตุ้นให้เด็ก แสดงความคิดความรู้สึกส่วนตัวต่อหนังสือนั้นๆ

6. การปิดสรุปประสบการณ์การอ่านโดยการจัดหากิจกรรมที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่ได้อ่านให้ต่อเนื่องเพื่อให้เด็กนำเอาสิ่งที่ได้รับจากการอ่านไปใช้ เป็นต้นว่า การดึงตัวละครจากในหนังสือมาเล่นบทบาทสมมติ เป็นต้น

การอ่านโดยการแนะนำของครู

ในห้องเรียนที่ใช้ระบบการเรียนอย่างธรรมชาติ การอ่านภายใต้คำแนะนำของครู เปิดโอกาสให้ครูสอนกลวิธี ซึ่งช่วยปรับปรุงการอ่านให้เกิดความเข้าใจและให้ทักษะที่จำเป็นในการเป็นผู้อ่านที่เชี่ยวชาญได้เป็นอย่างดี  จุดประสงค์ของการอ่านนี้เหมือนกับคำสั่งในแบบฝึกทักษะการทำงานกลุ่มย่อยที่เราพบในห้องเรียนแบบเดิม แต่วรรณกรรมจะเข้ามาแทนที่ หรือจะเข้ามาเสริมหนังสือตำราเหล่านี้ ทั้งนี้ความต่อเนื่องในการอ่านขึ้นอยู่กับการตอบสนองของนักเรียนต่อวรรณกรรมนั้นๆ ด้วย

การแนะนำขั้นตอนการอ่านประมาณ 30 นาที

1. ครูอ่านออกเสียงเรื่อง หรือวรรณกรรมที่ได้คัดเลือกแล้ว เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับคำศัพท์และโครงเรื่องที่อ่าน

2. ตามด้วยการสนทนา คิด วิเคราะห์ให้เด็กโต้ตอบสั้นๆ ครูฝึกตั้งคำถามเชิงวิเคราะห์และเชิงสร้างสรรค์

3. ครูเป็นผู้ตั้งจุดประสงค์ของการอ่านอิสระของเด็กรายคน

4. เด็กๆ เลือกอ่านออกเสียงหรืออ่านในใจเงียบๆ จากหนังสือเรื่องเดียวกันที่จัดทำสำเนาไว้หลายๆ ชุด

5. นักเรียนอาสาอ่านออกเสียงย่อหน้าใดย่อหน้าหนึ่ง

6. ครูใช้การอ่านย่อหน้าเหล่านี้เพื่อมุ่งเน้นกลยุทธ์หรือทักษะในการอ่านที่ครูวางแผนไว้

7. นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะแบบอิสระ ซึ่งเป็นโอกาสให้ครูประเมินความรู้ความสามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคลได้


การประชุมสนทนาเกี่ยวกับหนังสือ

พูดคุยกับเด็กรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มเล็กเกี่ยวกับหนังสือที่อ่าน ในกรณีการประชุมกลุ่มเล็กเด็กทุกคนควรมีสำเนาหนังสือคนละเล่ม เพื่อจะได้พลิกไปที่หน้าเดียวกันหรือเพื่ออ้างถึงคำบรรยายหรือคำศัพท์ความหมายต่างๆ ได้ตรงกัน ครูต้องสำรวจความเข้าใจของเด็ก ฟังสิ่งที่เด็กอ่านและใช้คำถามที่เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

๐ เด็กสามารถลงชื่อเพื่อเข้าร่วมประชุมในลักษณะนี้ทุกๆ 2 สัปดาห์

๐ การประชุมรายบุคคลควรใช้เวลาไม่เกิน 10 – 15 นาที และให้โอกาสเด็กได้พูดคุยกับครูถึงหนังสือที่ตนเลือก

๐ การประชุมรวมถึงการสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับหนังสือนี้เป็นความรู้สึกที่มีต่อหนังสือและในย่อหน้าที่อ่านออกเสียง เด็กๆ ควรได้บันทึกชื่อหนังสือที่ตนอ่านในตารางบันทึกด้วยทุกครั้งที่อ่าน

การอ่านแบบปล่อยอิสระ

ในการพัฒนาเด็กให้เป็นนักอ่านอิสระที่แท้จริงมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ เวลา การเลือกหนังสือ เอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ ให้เวลาเด็กมาก ๆ ในการอ่านแบบปล่อยอิสระ จัดหาหนังสือหลายประเภทที่เหมาะกับทุกระดับอายุ เพื่อให้เด็กได้เลือกการอ่านแบบปล่อยอิสระไม่ใช่เพียงแค่ให้อ่านในใจยังมีกิจกรรมอื่นที่ส่งเสริมการอ่านอิสระ ซึ่งรวมถึงการอ่านในระยะยาว การอ่านให้ครูใหญ่ ผู้ปกครองและเพื่อนร่วมห้องฟัง การอ่านลงเทปบันทึกเสียงและการค้นคว้าในห้องสมุด นักเรียนสามารถตรวจสอบรายชื่อหนังสือที่ได้อ่านจากตารางบันทึกการอ่าน

การอ่านในใจที่ยั่งยืน

การอ่านในใจเป็นกิจกรรมที่ทุกคนรวมทั้งครูต้องทำเป็นกิจวัตประจำวัน ( ทุกเช้าก่อนเริ่มกิจกรรม ) ครูและนักเรียนสามารถทำตามแนวทางดังต่อไปนี้

๐ เด็กนักเรียนแต่ละคนเลือกหนังสืออ่านของตนเอง ( ครูคัดเลือกหนังสือมีคุณค่าให้ก่อน )

๐ เด็กสามารถนั่งที่โต๊ะหรือมุมสบายใด ๆ ก็ได้ ติดกฎกติกาการอ่านไว้ที่ผนัง

๐ ร่วมกันอ่านกฎกติกา ไม่ควรมีการขัดจังหวะในช่วงการอ่าน

๐ การกำหนดเวลาขึ้นอยู่กับข้อตกลงของกลุ่ม ประมาณ 5 – 30 นาที ขึ้นอยู่กับระดับอายุของเด็ก เราควรค่อยๆ ขยายเวลาเมื่อเด็กมีขีดความสารถในการอ่านมากขึ้น

๐ เมื่อสัญญาณหมดเวลาดังขึ้น แสดงถึงยุติการอ่านด้วยการหากิจกรรมอื่นมาเปลี่ยนบรรยากาศอย่างนุ่มนวล คั่นในช่วงเปลี่ยนกิจกรรม เช่น เคลื่อนไหว การออกกำลังรับประทานของว่าง หรือการฟังดนตรีเบาๆ


ประเภทของเรื่องและวรรณกรรม

สารคดี นิยาย ชีวประวัติ อัตชีวประวัติ กีฬา บทกลอน บทละคร นิยายที่แต่งจากชีวิตจริงนิยายอิงประวัติศาสตร์ นิยายวิทยาศาสตร์ นิยายเพ้อฝัน นิยายปรัมปรา ตำนาน นิทานชาวบ้าน เทพนิยาย นิทานเหลือเชื่อ เรื่องสั้น เรื่องลึกลับ

การจับคู่อ่าน 2 คน

เพื่อให้เด็กมีโอกาสได้อ่านออกเสียง ครูให้เด็กจับคู่ ผู้อ่านเป็นผู้เลือกหนังสือและเลือกมุมที่ตนเองต้องการ ในห้องเรียน การจับคู่ฝึกซ้อมอ่านนั้น เราสามารถจับคู่เด็กที่มีความสามารถแตกต่างกันหรือให้เด็กคนหนึ่งอ่านหนังสือที่ท้าทายความสามารถในการอ่านให้เด็กอีกคนฟัง เพื่อช่วยเสริมทางด้านคำศัพท์และทักษะการฟัง และการอ่านที่ผู้อ่านมีความสามารถเท่าเทียมกันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง 

การเห็นคุณค่าของหนังสือ และวรรณกรรมประจำชาติ
หนังสือที่ครูอ่านให้เด็กฟัง ต้องเป็นหนังสือที่ท้าทายเด็กในระดับต่างๆ ทั้งระดับการอ่านอิสระและภายใต้คำแนะนำของครู  ครูควรเลือกหนังสือที่ใช้ภาษาเชิงพรรณนาโวหาร การบรรยายที่สำคัญควรมีแนวคิดที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย ตัวอย่างการกระทำที่ดีของลักษณะตัวละครในรายละเอียดการพัฒนาเค้าโครงเรื่องที่มีความซับซ้อน การสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับหนังสือจะช่วยพัฒนาระดับการคิดของเด็กได้ดียิ่ง ( เวลาพักหลังเที่ยงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการอ่านวรรณกรรมที่ดีร่วมกัน )
• การกำหนดเวลาขึ้นอยู่กับข้อตกลงของกลุ่ม ประมาณ ๕ – ๓๐ นาทีขึ้นอยู่กับระดับอายุของเด็ก เราควรค่อย ๆ ขยายเวลาเมื่อเด็กมีขีดความสามารถในการอ่านมากขึ้น

• เมื่อสัญญาณหมดเวลาดังขึ้น แสดงถึงยุติการอ่านด้วยการหากิจกรรมมาเปลี่ยนบรรยากาศอย่างนุ่มนวล คั่นในช่วงเวลาเปลี่ยนกิจกรรม เช่น เคลื่อนไหว การออกกำลัง รับประทานของว่างหรือการฟังดนตรีเบา ๆ
ประเภทของเรื่องและวรรณกรรม

สารคดี นิยาย ชีวประวัติ อัตชีวประวัติ กีฬา บทกลอน บทละคร นิยายที่แตกต่างจากชีวิตจริง
นิยายอิงประวัติศาสตร์ นิยายวิทยาศาสตร์ นิยายเพ้อฝัน นิยายปรัมปรา ตำนาน นิทานชาวบ้าน เทพนิยาย นิทานเหลือเชื่อ เรื่องลึกลับ
การจับคู่อ่าน ๒ คน

เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสได้อ่านออกเสียง ครูให้เด็กจับคุ่ ผู้อ่านเป็นผู้เลือกหนังสือและเลือกมุมที่ตนเองต้องการ ในห้องเรียน การจับคู่ฝึกซ้อมอ่านนั้น เราสามารถจับคู่เด็กที่มีความสามารถแตกต่างกัน หรือให้เด็กคนหนึ่งอ่านหนังสือที่ท้าทายความสามารถในการอ่านให้เด็กอีกคนฟัง เพื่อช่วยเสริมทางด้านคำศัพท์และทักษะการฟัง และการอ่านที่ผู้อ่านมีความสามารถเท่าเทียมกันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

การเห็นคุณค่าของหนังสือ และวรรณกรรมประจำชาติ

หนังสือที่ครูอ่านให้เด็กฟัง ต้องเป็นหนังสือที่ท้าทายเด็กในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับการอ่านอิสระและภายใต้การแนะนำของครู  ครูควรเลือกใช้หนังสือที่ที่ใช้ภาษาเชิงพรรณนาโวหาร การบรรยายที่สำคัญควรมีแนวคิดที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย ตัวอย่างการกระทำที่ดีของลักษณะตัวละครในรายละเอียดการพัฒนาเค้าโครงเรื่องที่มีความซับซ้อน การสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับหนังสือจะช่วยพัฒนาระดับการคิดของเด็กได้ดียิ่ง (เวลาพักเที่ยงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการอ่านวรรณกรรมที่ดีร่วมกัน)
กิจกรรมส่งเสริมด้านการอ่าน

หลังจากการอ่านหนังสือที่ดี ๆ แล้วควรมีกิจกรรมต่อเนื่อง ซึ่งส่งเสริมการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนให้ต่อเนื่องขึ้นไปอีก กิจกรรมส่งเสริมเหล่านี้รวมถึงการโยงใยเรื่อง Story mapping แผนภูมิการเปรียบเทียบบุคลิกภาพของตัวละคร การเปรียบเทียบผู้แต่ง การศึกษาประเภทของวรรณกรรม การลำดับเหตุการณ์รูปภาพเหล่านี้สามารถใช้ในมุมการเรียนรู้ของครูได้

การเขียน

ในฐานะที่เป็นครูหนึ่งในเป้าหมายหลัก คือการสร้างความรู้สึกและบรรยากาศของความเป็นนักเรียนในห้องเรียน เด็กควรเห็นว่าเขาห้อมล้อมไปด้วยเพื่อนนักเขียนในชั้นซึ่งกำลังใช้ความคิดความพยายามและในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะช่วยเหลือเมื่อต้องการ เด็กจำเป็นต้องมีความรู้สึกอุ่นใจว่าได้รับการสนับสนุนจากครูและเพื่อนร่วมชั้น การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถในการเขียนและสนับสนุนให้เด็กกล้าแสดงออก มีข้อเสนอแนะดังนี้

๑. เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกหัวข้อที่จะเขียนเองแทนที่ครูจะเป็นผู้กำหนด (ครูนำเสนอหัวข้อให้เด็กเลือก )

๒. ให้เด็กมีเวลาในการเขียนอย่างเพียงพอ พิจารณาเวลาเรียนโดยรวมและให้เด็กได้มีโอกาสเขียนตลอดทั้งวัน

๓. ปล่อยให้เด็กเป็นผู้ตัดสินใจ ให้อิสระกับเด็กในการที่จะเขียนเรื่องใหม่ ๆ ในแต่ละวัน หรือเขียนเรื่องต่อจากเมื่อวานที่เริ่มต้นไว้แล้ว

๔. เปิดโอกาสให้เด็กใช้ความคิดในการนำเสนอการเขียนที่หลากหลายรูปแบบในขณะที่หัวข้อหรือประเด็นเดียวกัน

กระบวนการเขียน

๕ ขั้นตอนในกระบวนการเขียนปรากฏในหน้าที่ ๑๘ ไม่จำเป็นที่งานทุกชิ้นจะต้องผ่าน ๕ ขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการของเด็ก และยังขึ้นอยู่กับเป้าหมายของหลักสูตรและจุดประสงค์ของการเขียนที่จะบอกได้ว่าเด็กคนนั้นผ่านกี่ขั้นตอน

การคิดสะกดคำขึ้นมาเองเกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการเขียน

การเขียนการบรรยายอย่างเป็นธรรมชาตินั้นคือการยอมรับการสะกดคำที่เด็กคิดขึ้นเองว่าเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็ก ซึ่งเริ่มต้นที่จะเขียน แต่ยังไม่รู้วิธีการสะกดคำที่ถูกต้อง เด็กควรได้รับการสนับสนุนให้คิดตัวสะกด หรืพยายามเข้าใจระบบการรวมตัวของอักษร ในขณะที่เขากำลังถ่ายทอดความคิดลงบนกระดาษ เขาเขียนคำตรงไปตรงมาตามที่เขาได้ยิน หรือจากที่เห็นในความคิดจินตนาการเอง

การสร้างคำมักจะเริ่มต้นจากการเขียนพยัญชนะต่อ ๆ กัน จนเมื่อเด็กมีความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ระกว่างพยัญชนะและเสียง เด็กจึงระเริ่มเชื่อมสาระกับตัวพยัญชนะเข้าด้วยกันเป็นลำดับต่อมาจึงเรียกว่าสะกดตัวหนังสือ

♥ เราไม่ได้ละทิ้งความสำคัญของการสะกดที่ถูกต้อง ขั้นตอนในการเขียน ตามหลักไวยากรณ์ ตรงกันข้าม เด็กจะต้องเขียนให้ถูกต้อง
๑. ก่อนเขียน ในที่สุด หลังจากที่ผิดมาแล้วครั้งเดียว หรือนับครั้งไม่ถ้วนก็ตาม
๒. ร่างแรก แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือการสื่อความหมาย การสะกดคำเป็น
๓. ทบทวนเพียงกลไกตัวหนึ่งในการเขียนที่เด็กจะต้องเรียนรู้
๔.ตรวจทาน
๕.พิมพ์
• การเขียนบทเรียนสั้น ๆ เป็นโอกาสที่แท้จริงที่เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการออกเสียง (Phoenics)

• ธนาคารศัพท์ พจนานุกรมส่วนตัวละเพื่อนที่ช่วยสะกดคำจะเป็นตัวสนับสนุนนักเขียนรุ่นเยาว์ในการที่เขาจะพัฒนาการเขียนคำอย่างถูกต้อง ด้วยการค้นพบคำที่ถูกต้องเอง และแก้ไขตัวเองให้เขียนได้ถูกต้องในที่สุด โดยครูไม่สร้างทัศนคติเชิงลบให้ แต่เป็นผู้ชี้นำให้ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องได้

กระบวนการเขียนอย่างเป็นขั้นตอน

๑. ขั้นตอนก่อนการเขียน – จุดเริ่มต้น

• ให้เวลาคิดและคุยเกี่ยวกับความคิดต่าง ๆ ที่เป็นประสบการณ์เดิม

• ระดมความคิดทั้งชั้นหรือกับเพื่อนคู่หูในเรื่องที่จะเขียน

• ฟังและอ่านวรรณกรรมที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

• สร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเขียน

• เข้าห้องสมุด นำเหตุการณ์ในห้องเรียนมาสร้างสรรค์เป็นงานเขียนนิตยสาร

• ออกนอกห้องเรียน เพื่อฝึกการสังเกตสิ่งแวดล้อม และบันทึกอย่างเป็นระบบ

• ใช้ประสบการณ์ด้านศิลปะเป็นแรงบันดาลใจเพื่องานสร้างสรรค์ที่ตนเองสนใจ

๒. ร่างแรก – การถ่ายทอดความคิดลงบนกระดาษ

• เลือกจุดประสงค์ในการเขียน : บอกเล่า ชักชวน สร้างบรรยากาศที่ชวนสนุก

การอธิบาย (หรือบรรยาย)

• รู้ว่าใครคือผู้อ่านงานของเรา

• ถ่ายทอดความคิดลงบนกระดาษอย่างรวดเร็ว (ตามธรรมชาติ)

• กำหนดทิศทางและไม่หลุดประเด็นหัวข้อ (ครูช่วยบ้างในระยะแรก)

• นำเสนอ รูปแบบ วิถีการเรียนรู้ต่าง ๆ ผ่านวรรณกรรม

๓.ทบทวน-ทำให้ถูกต้อง

• ให้เพื่ออ่านเรื่องที่เขียน เพื่อฟังความคิดเห็น

• สนใจฟังว่ามีจุดไหนที่ควรได้รับการแก้ไข ( การอ่านซ้ำ ดูลายละเอียด การอธิบายให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ) และมาทบทวนงานอีกครั้ง

• อ่านเรื่องที่เขียนให้เพื่อนในกลุ่มฟังและขอข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงอีกครั้ง

• เพิ่มเติม ตัดต่อและเปลี่ยนแปลงส่วนที่จำเป็น เพื่อความถูกต้อง

๔.ตรวจแก้-สำรวจ ความถูกต้องตลอดเรื่อง

• ตรวจทานการเว้นวรรคตอนและการจัดประโยค คำศัพท์

• ตรวจทานไวยกรณ์

• ใช้พจนานุกรมหรือให้เพื่อนช่วยแก้ไขตัวสะกด

• ใช้ตารางการตรวจสอบของนักเรียน

๕.การตีพิมพ์-การแสดงความยินดีต่อผลงานเขียน (ในระดับอนุบาลให้ทำไปตามขั้นตอนนี้)

• ให้เล่าเรื่องด้วยปากเปล่าให้ทั้งชั้นฟัง

• ทำหนังสือและออกแบบหน้าปก

• นำผลงานติดแสดงในโรงเรียนหรือในห้องสมุด

• อ่านเรื่องใส่เครื่องบันทึกเสียง (หรือบันทึกเสียงเรื่องที่เขียนขึ้นมา)

• รวบรวมเรื่องทั้งหมดเป็นหนังสือสำหรับใช้ในห้องเรียน

• ติดเรื่องต่างๆบนผนังแสดงผลงาน

• อ่านเรื่องที่เขียนให้ครูใหญ่ฟัง (เชิญมาที่ห้องเพื่อบรรยากาศที่ตื่นเต้นเร้าใจ)



การเตรียมแฟ้มงานสำหรับเด็กมีแนวทางดังนี้

• ให้เด็กตกแต่งแฟ้มงานของตนเองได้ (หรือเป็นวัสดุชนิดอื่นๆได้ตามความถนัด)

• เด็กสามารถบันทึกหัวข้อเรื่องและวันที่ที่เขียนด้านหลังของแฟ้ม

• เด็กสามารถเขียนหัวข้อเรื่องที่ต้องการจะเขียนไว้ด้านในของปกหลัง

• หนีบตารางตรวจแก้ไว้ด้านใน เพื่อสามารถตรวจสอบความถูกต้อง

• ใส่แผ่นที่เป็นการประเมินผลตัวเองในแฟ้มโดยให้หัวข้อว่า “สิ่งที่ฉันสามารถเขียนได้”

• ลงวันที่บนชิ้นงานทุกแผ่น สำหรับนักเขียนรุ่นเยาว์ สามารถใช้ตรายางวันที่ได้เช่นกัน การร่วมวงหารือเกี่ยวกับการเขียน  การพูดคุยเป็นรายบุคคลหรือ กลุ่มย่อยช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะ ทางด้านการเขียน เป้าหมายของการ หารือในเรื่องการเขียนนี้ก็เพื่อให้เด็ก เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการ
พูดคุย โต้ตอบกับครูเกี่ยวกับงานที่เด็กเขียน

ลักษณะของการหารือที่เป็นธรรมชาติในระดับอนุบาลนั้น จะขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะของเด็กในแต่ละคน ขณะที่เด็กเขียนร่างแรกการคุยกัน ควรเป็นไปแบบไม่เป็นทางการ ในขณะที่ครูเดินดูเด็กในห้องครูสามารถให้เวลากับเด็กด้วยการกระตุ้น เพื่อให้เกิดการเขียนลื่นไหล ครูช่วยเด็กแก้ปัญหาในการเขียนและกระตุ้นให้เด็กเขียนด้วยตนเอง ในกระบวนการเขียนขั้นที่ 1,2 และ 5 จะเหมาะสำหรับเด็กระดับอนุบาล

การร่วมวงหารือเพื่อทบทวน (รายบุคคลและกลุ่มย่อย)

ครูจะพบเด็กเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อยก็ได้ เป้าหมายของการหารือในครั้งนี้ก็เพื่อช่วยเด็กให้สามารถพัฒนาสิ่งที่เขียนเป็นชิ้นงานที่มีคุณภาพ ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นการหารือเป็นรายบุคคล แต่คุณสามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นการหารือในกลุ่มย่อยได้ตามความเหมาะสมดังนี้

1. เด็กอ่านทบทวนและตรวจงานร่างแรกก่อน

2. เด็กเลือกอ่านออกเสียงส่วนที่ต้องการอ่าน

3. ครูจะป้อนคำถามเป็นต้นว่า ส่วนไหนที่เด็กต้องการให้ครูช่วยดู

4. ครูช่วยเด็กแก้ปัญหาในจุดนั้น

5. ครูสามารถช่วยแนะนำเด็กว่าส่วนใดควรได้รับความแก้ไข หรือให้เด็กตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง (เพิ่ม ตัดออก เปลี่ยนแปลงหรือสลับที่)

6. ครูควรให้คำแนะนำที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งเน้นจุดเด่นของงานเขียนนั้นๆ เมื่อต้องการสรุป

7. ระหว่างหรือภายหลังการร่วมวงหารือ ครูบันทึกความก้าวหน้าในการเขียนของเด็กลงในแบบฟอร์ม

ตัวอย่างคำถามที่ใช้ในระหว่างการร่วมวงหารือ เพื่อพัฒนางานเขียน


• เด็กช่วยอ่านเรื่องให้ครูฟัง

• ไหนลองเล่าเรื่องให้ครูฟังหน่อยได้ไหม ?

• สำหรับเรื่องของหนู หนูได้ความคิดนี้มาจากไหน ?

• หนูรู้เรื่องเล่านี้มาได้อย่างไร ? (ทำไมหนูถึงรู้เรื่องมากขนาดนี้)

• หนูพอจะเล่าเรื่องจากภาพนี้ได้หรือไม่ ?

• แล้วเกิดอะไรขึ้นอีก ?

• หนูได้อ่านให้เพื่อนฟังรึยัง ?

• หนูช่วยอธิบาย (เล่าให้ครูฟังตรงนี้ได้หรือไม่)

• มีส่วนไหนบ้างที่หนูยังไม่ถูกใจ ?

• ส่วนไหนที่หนูชอบมากที่สุดในเรื่อง ?

• มีอะไรให้ครูช่วยบ้าง ?

ขอแนะนำขั้นตอนในการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับการเขียนของเด็กในระดับขั้นที่สูงขึ้นไป เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่สามารถนำมาใช้กับเด็กอนุบาล3 และระดับประถมต้นได้ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในรอยต่อของอนุบาลสู่ประถม ที่ครูในแนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติฯ สามารถจะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเขียนอย่างเป็นธรรมชาติให้สูงขึ้นไป ตามศักยภาพจนเห็นว่างานเขียนของเด็กนำไปเข้าเล่ม หรือจัดพิมพ์เป็นเล่มจริง เป็นเรื่องเป็นราวได้อย่างน่าภาคภูมิใจ

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คู่มือครู บทที่ 1.

การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน-นอกห้องเรียน


มีข้อปฏิบัติสำหรับการสร้างสภาพแวดล้อม เพื่อการเรียนรู้ที่ครูให้ความสำคัญแก่เด็กๆผู้เรียนทุกคน ที่ต้องการเรียนรู้อย่างเลื่อนไหลและต่อเนื่อง ซึ่งจะเกดผลสำเร็จได้ต้องอาศัยเงื่อนไขในการจัดการศึกษาอยู่หลายประการ

บทบาทสำคัญและมีอิทธิพลต่อผู้เรียนโดยตรง คือ ครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องจัดบรรยากาศที่น่าสนใจเหมาะกับผู้เรียนทุกคน ตามบริบทของสังคม หรือท้องถิ่นนั้นๆโดยนักการศึกษาได้ชี้ให้เห็นเงื่อนไขที่สนับสนุนการเรียนรู้ภาษาได้มี๗ ประการดังนี้

ข้อที่๑ :  ให้จัดห้องเรียนที่มีบรรยากาศอบอุ่นและแวดล้อมไปด้วยหนังสือดีๆหรือสิ่งพิมพ์ นานาชนิด
ถ้าเราเดินเข้าไปในห้องเรียนการเรียนภาษาอย่างธรรมชาติ เราจะเห็นว่าเด็กๆในห้องเรียนนั้นเสมือนเอิบอาบหรือจุ่มตัวอยู่ในท่ามกลางภาษาอักษรในรูปแบบหลากหลาย.......เต็มข้างฝาประตู.........
จัดหนังสือใส่ตะกร้า แบ่งตามชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่องจะช่วยให้เด็กๆเลือกได้สะดวก นิตยสารหนังสือพิมพ์อื่นๆควรตั้งให้เห็นชัด จัดเป็นห้องสมุดในห้อง แต่หนังสือก็ยืมไปใช้นอกห้องได้ ไม่ผิดอะไร เพราะเป็นชุมชนแห่งการอ่านที่เราตั้งกันขึ้นมาเอง

ข้อที่๒ : เด็กๆเรียนรู้ภาษาผ่านตัวอย่างหรือแบบอย่างที่ถูกต้อง ครูควรแสดงหรือสาธิตการอ่าน
ครูเป็นแบบอย่างการอ่าน การฟัง การเขียน และการพูด ใช้อุปกรณ์เครื่องฉายแผ่นใสหรือกระดาษแผ่นใหญ่ เพื่อแสดงการเขียนเป็นขั้นตอน ฝึกการฟังที่ดี ฟังเทปที่ออกเสียงถูกต้อง และมีลีลาน้ำเสียงคล่องแคล่ว โดยจัดที่ว่างเพื่อให้เด็กๆนั่งฟังนิทานทุกวันหรือครูอ่านเป็นตัวอย่างให้ฟัง ใช้ไม้ชี้ตาม ส่วนบริเวณใกล้เคียงก็จัดไว้ให้เด็กๆสนทนากัน หรือเรียนกันเป็นกลุ่ม ซึ่งบริเวณใกล้ๆนั้นเราก็อาจจะจัดเป็นที่เก็บหนังสือหรือติดบัตรคำและบัตรภาพต่างๆที่แขวนกระดาษ หรือป้ายติดข่าวสารของห้องเรียน เพื่อครูสามารถจะเข้าไปใช้ป้ายหรือหยิบอ่านเป็นตัวอย่างได้ทันที

ข้อที่๓ : เด็กๆต้องทำงานที่เหมาะกับพัฒนาการตามวัย เพื่อการเรียนรู้สูงสุดเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน ต้องจัดห้องเรียนให้มีวัสดุ อุปกรณ์ กิจกรรมและหนังสือมากมาย หนังสือมากมาย หนังสือเหล่านี้ควรเขียนและจัดวางหนังสือให้เลือกอ่านได้ตามระดับความยากง่ายตามวัย หนังสือที่มีตัวอักษรใหญ่อ่านง่าย หนังสือที่มีเฉพาะรูปภาพไม่มีตัวอักษร ที่สี่ข้อความให้เด็กๆอ่านได้สบายๆมีมุมห้องเรียนที่ให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้ตามระดับพัฒนาการ ตามความสนใจ มุมที่จะจัดควรเลียนแบบจากบริบทจริงได้ เช่น มุมร้านอาหาร มุมปั้มน้ำมัน มุมอู่ซ่อมรถ ร้านดอกไม้ เป็นต้น ส่วนมุมพื้นฐานที่จำเป็น ได้แก่

   มุมฝึกการฟัง
เตรียมตลับเทปพร้อมหนังสือที่เด็กๆโปรดปราน ให้จัดอย่างมีสัมพันธ์กับระดับการเรียนรู้ควร
พิจารณาเนื้อหาสาระตามแนวทางที่ตรงกับบริบทของสังคมท้องถิ่นเป็นสำคัญ แล้วจึงเลือกขยายเนื้อหาในวงกว่างในระดับชั้นสูงขึ้นต่อไป

   มุมนักอ่าน
 ควรจัดให้มีพื้นที่สำหรับนั่งอ่านหนังสือในด้านที่เงียบสงบที่สุดในห้องเรียน จัดคัดเลือกสรรหนังสือดีๆ มีคุณค่า เหมาะกับวัยและและการส่งเสริมสติปัญญาระดับที่ สูงกว่าวัยด้วย โดยมีหนังสือที่พอเพียง มีชั้นวางหนังสือ การจัดแสดงหนังสือที่ครูนำเข้ามาใหม่ ตรงกับหัวข้อเรื่องที่เรียนหน่วยที่ศึกษา มีหนังสือวางเล่มใหญ่ ให้เด็กๆสนุกกับการอ่านและไม่ทำลายหนังสือให้ขาด

  มุมการเขียน
สำหรับเด็กที่โตแล้วให้เขียนคำแนะนำไว้หรือทำปริศนาทายคำหรือวลีโดยใช้ภาพ ประกอบสำหรับเด็กเล็ก ซึ่งเด็กๆจะสามารถทำงานในมุมนั้นๆได้เองอย่างถูกต้อง หรือให้ตัวอย่างไว้ เพื่อการทำงานที่เป็นอิสระจัดบริเวณในห้องเรียนที่กว้างขว้างเพียงพอให้เด็กๆได้ฝึกเขียน หรือร่วมกันกับเพื่อนทำงานด้านการเขียนอย่างอิสระ ให้ทำปกหนังสือเองด้วย เขียนหนังสือที่ต้องการร่วมกัน “ก้าวไกลกับการเขียน” เรียกชื่อว่ามุมเขียน:มีอุปกรณ์และขั้นตอนในการทำงานติดไว้ที่ข้างฝาชัดเจน มีชั้นหนังสือ และที่เก็บชิ้นงานของนักเรียนที่ทำแล้วอยู่ด้วย

   การจัดมุมนักเขียน-ทำหนังสือ
เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการเขียนของเด็กๆให้ผู้ปกครองอาสาสมัครช่วยเหลือในการทำหนังสือด้วยจะพัฒนาได้มาก

   มุมบ้าน
 เป็นการฝึกพัฒนาการภาษาและสังคมไปในเวลาเดียวกัน เพราการพูดเป็นเรื่องที่สำคัญรองมาจากการฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวการเรียนการสอนภาษาอย่างธรรมชาติ นี้ เด็กจะต้องได้โอกาสให้ฝึกการพูดโต้ตอบ พูดเพื่อแสดงความคิดเห็น ดังนั้น แนวการจัดห้องเรียนภาษาอย่างธรรมชาติ นี้ จึงเป็นการให้สิ่งแวดล้อมที่เสมือนบ้านจริง และเปิดโอกาสให้เด็กๆได้สนทนา มีปฏิสัมพันธ์กันจริง เกิดการเรียนรู้จริง
แม้จะเป็นการจัดสถานที่จำลองขึ้นมาก็ตาม ความสำเร็จที่เด็กได้รับในการเรียนรู้คือ การจัดการตนเองกับเพื่อนๆและสิ่งต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกันในมุมนั้นๆโดยเชื่อมโยงกันเข้าอย่างมีรูปแบบ และเด็กๆจะได้รับการสนับสนุนการชี้นำจากครูเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับทุกมุมการเรียนรู้อื่นๆ

   มุมศิลปะ
 พื้นที่ในห้องส่วนนี้จะเป็นมุมที่มีชีวิตชีวา มีสีสันและมีความหลากหลายที่สุดเท่าที่ครูจะเปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสสัมผัสกับความมีเสน่ห์แห่งสีนานาชนิด วัสดุที่ใช้ประดิษฐ์เป็นชิ้นงานตามจินตนาการ หรือแม้แต่ผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงในสังคมไทย ในท้องถิ่น ครูจำเป็นต้องแสดงภาพของโลกก็ตาม มุมศิลปะคือมุมที่เกื้อหนุนให้เด็ก เกิดการแสดงออกเชิงสร้างอุปกรณ์ต่างๆไว้ บอกวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างเป็นระบบ มีข้อชี้แจ้งกฎกติกา บอกวิธีการใช้เป็นตัวอักษรกำกับไว้ หลังจากที่ฟังครูอธิบายแล้ว เด็กๆก็จะเกิดความเข้าใจและสามารถสร้างชิ้นงานได้ในที่สุด

วัสดุต่างๆที่ควรจัดไว้อย่างเป็นระเบียบได้แก่ เศษกระดาษหลากสี เศษไม้กระป๋องเปล่า ขวดพลาสติกเปล่า บรรจุในตะกร้าจัดวางและติดป้ายเขียนบอกไว้ว่าเป็นวัสดุอะไร เพื่อเด็กๆสามารถเรียนรู้ตัวอักษรได้เป็นต้น

    มุมวิทยาศาสตร์และธรรมชาติ
ให้พื้นที่ในชั้นเรียนที่สามารถจัดวางกระถางต้นไม้ที่เด็กๆปลูกหรือเป้นพื้นที่ในการนำพืชและสัตว์มาศึกษาในชั้นเรียน หลังจากศึกษาตามกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกตและบันทึก การทดลอง ภายนอกแล้ว มีชั้นจัดเก็บวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอน แบ่งแยกแยะอย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อฝึกพื้นฐานการคิดการปฏิบัติเชิงวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาตินั้น มิได้มุ่งหมายแต่เพียงการเรียนรู้ในเรื่องของภาษาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการใช้ภาษาในการเรียนรู้ทุกแขนงวิชา ตลอดหลักสูตรนั่นเอง

   มุมคณิตศาสตร์
ควรมีจะมีการเก็บอุปกรณ์สื่อที่ใช้เรียนรู้ไว้ในชั้น เตี้ยๆใกล้ กับหนังสือคณิตศาสตร์ด้วย เช่น ถ้าเรียนนับจำนวนให้วางหนังสือไว้ใกล้ๆกับกล่องเก็บเหรียญพลาสติกที่ใช้นับด้วย ทำงานเกี่ยวกับรูปทรงและการแยกแยะ ในการทดลองชั่ง ทำกราฟ หรืองานเกี่ยวกับรูปทรง วัดสัดส่วน การจัดจำพวก ตามที่บทเรียนกำหนดไว้ ให้วางหนังสือไว้ใกล้ๆกับอุปกรณ์เหล่านั้นด้วยเช่นกัน


   มุมคอมพิวเตอร์
ซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์อำนวยการทำงานและสามารถเรียนรู้ คณิต วิทย์ และเรื่องอื่นๆ ได้ด้วยการจัดระบบเวลาที่เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ไว้ให้ทราบ อย่างน้อยทุกคนควรมีโอกาสได้ทำงานที่เครื่องคอมๆ สัปดาห์ละครั้ง

ข้อที่ ๔ : ฝึกความรับผิดชอบ - ต้องรับผิดชอบร่วมกันในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ครูในชั้นเรียนแนวภาษาธรรมชาติ มีบทบาทสำคัญมากเป็นตัวกลางที่นำเด็กเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ นำสู่ช่องทางการแสวงหาความรู้และเป็นผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ และการปฏิบัติจะเป็นหน้าที่ของผู้เรียน เด็กๆก็มีความรับผิดชอบมากขึ้น (แต่ก่อนนี้ครูจะรับแต่ผู้เดียว) จะทำงานรวบรวมข้อมูล คำศัพท์ ระดมสมอง ขึ้นแผนภูมิให้เห็นในห้อง ดูแลรักษาทำความสะอาด และจัดอุปกรณ์ทุกอย่างเอง หนังสือจากห้องสมุดก็มีระบบการเลือก การยืม และการคืนกันเอง ครูช่วยน้อยมาก หนังสือ นิตยสารจากบ้าน บนผนังห้องมีการแสดงให้เห็นว่าใครช่วยทำอะไรกันบ้างงานที่ต้องทำกำหนดไว้ชัดเจนและเด็กๆ ก็ทำงานกันอย่างอิสระเสรี โดยครูจ้ำจี้จ้ำไชให้ทำน้อยมาก

ข้อที่ ๕ : ฝึกให้มีงานทำ – การเรียนรู้อย่างมีความหมายและเกิดความกระตือรือร้น  วัฒนธรรม “นั่งทำงาน” ได้ถูกแทนที่ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายและมีความหมายทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของงานที่กำลังอยู่ บ้างทำงานประวัติศาสตร์เป็นกลุ่ม บ้างทำงานเดี่ยวกับหนังสือที่โปรดปราน เขียนหนังสือใหม่ หรือเป็นบรรณาธิการสำหรับหนังสือเล่มใหม่ ฯลฯ ครูก็จะคอยช่วยดูแลการอ่าน+ การเขียน การสังเกตเข้าช่วยเหลือและจดบันทึก ส่วนนอกห้องผู้ปกครองอาสาสมัครนั่งฟังกลุ่มเด็ก ๆ เล่านิทานเรื่องโปรด ด้วยการใช้คำพูดของเขาเอง   เด็ก ๆ จะช่วยในสภาพแวดล้อม   ของกิจกรรมที่สิ่งให้เกิดการเรียนรู้อย่าง
แท้จริง เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบ   ความเป็นตัวของตัวเองการจัดระบบ  กิจวัตรให้เกิดเป็นอุปนิสัย โดยครูเป็นผู้กำหนดกฎกติกา มารยาทและรักษาให้เป็นไปตาม ตารางเวลานั้น


ข้อที่ ๖ : การประมาณ – เด็ก ๆมักจะรู้สึกอิสระที่จะทดลอง เมื่อได้รับการสนับสนุนและแสดงชื่นชมเมื่อเขาได้ใช้ความพยายาม ครูมีหน้าที่จัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ในหลายระดับ ให้เด็ก ๆ ประสบความสำเร็จในการเรียนโดยอาศัยวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบทั้งที่เป็นธรรมชาติ และที่ทางโรงเรียนมีให้     งานเขียนของเด็กที่แสดงในห้องเรียนนั้น จะไม่ปรากฎให้เห็นร่องรอยการใช้เครื่องหมายถูกผิด หรือการแก้ไขเลย ชิ้นงานของเด็กๆ จัดแสดงอยู่รอบๆ ห้องเรียน ซึ่งเป็นงานที่ทุกคนยอมรับการเขียนที่อยู่ในช่วงฝึกฝน และได้รับการสนับสนุนให้ทำอย่างเต็มความสามารถ และครูไม่คาดหวังให้เขียนที่ถูกต้องสมบูรณ์เต็มร้อย การประมาณการ การคาดเดาคำตอบ และการโต้ตอบได้รับการยอมรับทั้งสิ้น

ข้อที่๗ : การสะท้อนความคิด – เด็ก ๆ จะเรียนรู้ด้วยการสนทนาโต้ตอบกันในเชิงสร้างสรรค์ จากครูและเพื่อน  องค์ประกอบหลากหลายตัวในชั้นเรียน Whole Language นี้ช่วยให้เด็ก ๆ ได้รีบการสะท้อนความคิดอย่างทันใด กล่าวคือการจัดโต๊ะเรียนนั่งรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อให้สนทนาและปรึกษากันได้ ประเมินตนเองและประชุมกันได้ ทั้งครูกับเด็กจะหารือกันเพื่อบอกกล่าวถึงความก้าวหน้าในการเป็นนักอ่าน นักเขียน นักฟัง นักพูด นักทำหนังสือ ทำงานศิลปะ และกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและคนอื่น ทั้งในห้องและนอกห้องเรียน

“เก้าอี้สำหรับนักเขียน” เป็นการช่วยให้เด็ก ๆ ๆรักการเป็นนักเขียน เพราะเพื่อน ๆ จะตระหนักถึงความสำคัญและจะได้รับการปรบมือชื่นชมมาก หลังจากที่ทุกคนนั่งฟังเจ้าของเรื่องอ่านเรื่องให้ฟัง มีการถาม วิจารณ์ เพื่อให้ผู้เขียนได้ฟังความเห็นความเห็นและสำรวจตัวเองต่อไป การได้รับทั้งคำติชมนี้สร้างความรู้สึกที่มีคุณค่าต่อตนเองได้เป็นอย่างดี

ผู้มาเยี่ยมชมจะพูดถึงชั้นเรียนนี้ว่าอย่างไรนะ ?

บางทีคำว่า “ง่วน” ดูจะเหมาะกับสภาพบรรยายกาศการเรียนรู้ในห้อง ที่มีกิจกรรม มากมายให้ถ้าอยู่ตลอดเวลา สำหรับผู้มาเยือนอาจจะเห็นว่ามันชุลมุนเอาการอยู่ เพราะครูไม่ได้อยู่ตรงกลางห้องคอยกำกับการแต่อย่างใด แต่ถ้าพินิจพิจารณาให้ดี จะเห็นว่า เด็กทุกคนมีเป้าหมายของตนเองในการทำงาน และแม้จะดูว่ากิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียว แต่ก็จะมองเห็นว่าทุกกลุ่มทุกคนทำงานหรือเล่นโดยมีจุดหมายเดียวกัน คือ “มุ่งมั่นเรียนรู้” บางคนพูดคุยกันบ้าง สุมหัวร่วมคิด ร่วมกันทำงานตามขั้นตอนของงาน ที่เลื่อนไหลไปตามกิจวัตรประจำวันที่กำหนดเป็นระเบียบของห้องแล้ว

แผนผังห้องเรียนสำหรับระดับชั้นอนุบาล
เด็ก ๆ ยินดีตอบการจัดชั้นเรียนแบบนี้ บรรยากาศแวดล้อมที่เชื้อเชิญ มีบริเวณหน้าชั้นที่กว้างขวาง เพื่อเล่นเกมและการเคลื่อนไหว ทั้งกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ได้ทำกิจกรรมและการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย
    ที่เก็บของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เป็นสัดส่วนมีป้ายติดบอกชัดเจน มีโต๊ะให้ทำงานทั้งที่ต้องการทำอิสระ ทำคนเดียวและทำรวมกันเป็นกลุ่ม
    มุมหนังสือจัดวางไว้น่าอ่าน และมีการตั้งชื่อ “มิตรอักษร” เพื่อให้เด็ก ๆ ได้สังเกตเห็นชัดเจนหยิบฉวยเครื่องมือไปใช้ได้ง่าย เก็บเข้าที่ก็ง่าย เมื่อต้องการอ่าน – เขียน และเรียนรู้ตลอดเวลา โดยปราศจากความกลัวว่าจะทำไม่ได้

ครูอาจจัดห้องอีกรูปแบบหนึ่งโดยปรับเป็นแผนผังห้องเรียนในระดับชั้นที่สูงกว่าอนุบาล หรือเรียกได้ว่าเป็นรูปแบบสำหรับประถมต้น ซึ่งเมื่อเข้ามาในห้องนี้จะรู้สึกได้ว่า เสมือนเข้าสู่โลกของสื่อชนิดต่างๆ ที่เป็นทั้งด้านสังคม วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และเป็นที่ทำงานของ เด็กๆ ที่เต็มไปด้วยความอิสระ ในการเรียนที่สามารถเลื่อนไหลไปตามพื้นที่ทั้งหมดทั่วห้อง

ครูควรจัดห้องเรียนให้มีบรรยากาศสบายๆ เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก สนับสนุนให้เด็กมีการทำงานร่วมกัน โต๊ะเรียนจึงต้องจัดให้สนองเป้าหมายนี้ ขณะเดียวกันเด็ก ๆ ก็ต้องการที่จะมีเวลา มีมุมการเรียนรู้คนเดียวด้วย และถือเรื่องสำคัญที่สุด เมื่อเขาต้องดารเจาะลึกในเรื่องที่เขาสนใจจริงๆในระดับสูงขึ้น
สภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน
การเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวมในที่นี้ “องค์รวม” จะหมายเอาการเปิดโอกาสหรือการกำหนดให้เรียนรู้ได้ใช้สถานที่ต่างๆ ในการเรียนรู้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

* บริเวณเฉลียงหน้าห้องเรียน * สถานที่จริง ๆ ในชุมชนใกล้โรงเรียน เช่น

* บริเวณสนามเด็กเล่น ร้านขายหนังสือ ไปรษณีย์โทรเลข ตลาด

* พื้นที่ ๆ ไม่ใช่เขตหวงห้ามในบริเวณโรงเรียน วัด ฯลฯทั้งหมด เข้าไปเรียนรู้ได้

 * สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด

* สนามหญ้าของโรงเรียน ที่ออกกำลังกาย แหล่งธรรมชาติ

* บ้านคุณครู บ้านเพื่อน