วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คู่มือครู บทที่ 1.

การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน-นอกห้องเรียน


มีข้อปฏิบัติสำหรับการสร้างสภาพแวดล้อม เพื่อการเรียนรู้ที่ครูให้ความสำคัญแก่เด็กๆผู้เรียนทุกคน ที่ต้องการเรียนรู้อย่างเลื่อนไหลและต่อเนื่อง ซึ่งจะเกดผลสำเร็จได้ต้องอาศัยเงื่อนไขในการจัดการศึกษาอยู่หลายประการ

บทบาทสำคัญและมีอิทธิพลต่อผู้เรียนโดยตรง คือ ครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องจัดบรรยากาศที่น่าสนใจเหมาะกับผู้เรียนทุกคน ตามบริบทของสังคม หรือท้องถิ่นนั้นๆโดยนักการศึกษาได้ชี้ให้เห็นเงื่อนไขที่สนับสนุนการเรียนรู้ภาษาได้มี๗ ประการดังนี้

ข้อที่๑ :  ให้จัดห้องเรียนที่มีบรรยากาศอบอุ่นและแวดล้อมไปด้วยหนังสือดีๆหรือสิ่งพิมพ์ นานาชนิด
ถ้าเราเดินเข้าไปในห้องเรียนการเรียนภาษาอย่างธรรมชาติ เราจะเห็นว่าเด็กๆในห้องเรียนนั้นเสมือนเอิบอาบหรือจุ่มตัวอยู่ในท่ามกลางภาษาอักษรในรูปแบบหลากหลาย.......เต็มข้างฝาประตู.........
จัดหนังสือใส่ตะกร้า แบ่งตามชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่องจะช่วยให้เด็กๆเลือกได้สะดวก นิตยสารหนังสือพิมพ์อื่นๆควรตั้งให้เห็นชัด จัดเป็นห้องสมุดในห้อง แต่หนังสือก็ยืมไปใช้นอกห้องได้ ไม่ผิดอะไร เพราะเป็นชุมชนแห่งการอ่านที่เราตั้งกันขึ้นมาเอง

ข้อที่๒ : เด็กๆเรียนรู้ภาษาผ่านตัวอย่างหรือแบบอย่างที่ถูกต้อง ครูควรแสดงหรือสาธิตการอ่าน
ครูเป็นแบบอย่างการอ่าน การฟัง การเขียน และการพูด ใช้อุปกรณ์เครื่องฉายแผ่นใสหรือกระดาษแผ่นใหญ่ เพื่อแสดงการเขียนเป็นขั้นตอน ฝึกการฟังที่ดี ฟังเทปที่ออกเสียงถูกต้อง และมีลีลาน้ำเสียงคล่องแคล่ว โดยจัดที่ว่างเพื่อให้เด็กๆนั่งฟังนิทานทุกวันหรือครูอ่านเป็นตัวอย่างให้ฟัง ใช้ไม้ชี้ตาม ส่วนบริเวณใกล้เคียงก็จัดไว้ให้เด็กๆสนทนากัน หรือเรียนกันเป็นกลุ่ม ซึ่งบริเวณใกล้ๆนั้นเราก็อาจจะจัดเป็นที่เก็บหนังสือหรือติดบัตรคำและบัตรภาพต่างๆที่แขวนกระดาษ หรือป้ายติดข่าวสารของห้องเรียน เพื่อครูสามารถจะเข้าไปใช้ป้ายหรือหยิบอ่านเป็นตัวอย่างได้ทันที

ข้อที่๓ : เด็กๆต้องทำงานที่เหมาะกับพัฒนาการตามวัย เพื่อการเรียนรู้สูงสุดเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน ต้องจัดห้องเรียนให้มีวัสดุ อุปกรณ์ กิจกรรมและหนังสือมากมาย หนังสือมากมาย หนังสือเหล่านี้ควรเขียนและจัดวางหนังสือให้เลือกอ่านได้ตามระดับความยากง่ายตามวัย หนังสือที่มีตัวอักษรใหญ่อ่านง่าย หนังสือที่มีเฉพาะรูปภาพไม่มีตัวอักษร ที่สี่ข้อความให้เด็กๆอ่านได้สบายๆมีมุมห้องเรียนที่ให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้ตามระดับพัฒนาการ ตามความสนใจ มุมที่จะจัดควรเลียนแบบจากบริบทจริงได้ เช่น มุมร้านอาหาร มุมปั้มน้ำมัน มุมอู่ซ่อมรถ ร้านดอกไม้ เป็นต้น ส่วนมุมพื้นฐานที่จำเป็น ได้แก่

   มุมฝึกการฟัง
เตรียมตลับเทปพร้อมหนังสือที่เด็กๆโปรดปราน ให้จัดอย่างมีสัมพันธ์กับระดับการเรียนรู้ควร
พิจารณาเนื้อหาสาระตามแนวทางที่ตรงกับบริบทของสังคมท้องถิ่นเป็นสำคัญ แล้วจึงเลือกขยายเนื้อหาในวงกว่างในระดับชั้นสูงขึ้นต่อไป

   มุมนักอ่าน
 ควรจัดให้มีพื้นที่สำหรับนั่งอ่านหนังสือในด้านที่เงียบสงบที่สุดในห้องเรียน จัดคัดเลือกสรรหนังสือดีๆ มีคุณค่า เหมาะกับวัยและและการส่งเสริมสติปัญญาระดับที่ สูงกว่าวัยด้วย โดยมีหนังสือที่พอเพียง มีชั้นวางหนังสือ การจัดแสดงหนังสือที่ครูนำเข้ามาใหม่ ตรงกับหัวข้อเรื่องที่เรียนหน่วยที่ศึกษา มีหนังสือวางเล่มใหญ่ ให้เด็กๆสนุกกับการอ่านและไม่ทำลายหนังสือให้ขาด

  มุมการเขียน
สำหรับเด็กที่โตแล้วให้เขียนคำแนะนำไว้หรือทำปริศนาทายคำหรือวลีโดยใช้ภาพ ประกอบสำหรับเด็กเล็ก ซึ่งเด็กๆจะสามารถทำงานในมุมนั้นๆได้เองอย่างถูกต้อง หรือให้ตัวอย่างไว้ เพื่อการทำงานที่เป็นอิสระจัดบริเวณในห้องเรียนที่กว้างขว้างเพียงพอให้เด็กๆได้ฝึกเขียน หรือร่วมกันกับเพื่อนทำงานด้านการเขียนอย่างอิสระ ให้ทำปกหนังสือเองด้วย เขียนหนังสือที่ต้องการร่วมกัน “ก้าวไกลกับการเขียน” เรียกชื่อว่ามุมเขียน:มีอุปกรณ์และขั้นตอนในการทำงานติดไว้ที่ข้างฝาชัดเจน มีชั้นหนังสือ และที่เก็บชิ้นงานของนักเรียนที่ทำแล้วอยู่ด้วย

   การจัดมุมนักเขียน-ทำหนังสือ
เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการเขียนของเด็กๆให้ผู้ปกครองอาสาสมัครช่วยเหลือในการทำหนังสือด้วยจะพัฒนาได้มาก

   มุมบ้าน
 เป็นการฝึกพัฒนาการภาษาและสังคมไปในเวลาเดียวกัน เพราการพูดเป็นเรื่องที่สำคัญรองมาจากการฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวการเรียนการสอนภาษาอย่างธรรมชาติ นี้ เด็กจะต้องได้โอกาสให้ฝึกการพูดโต้ตอบ พูดเพื่อแสดงความคิดเห็น ดังนั้น แนวการจัดห้องเรียนภาษาอย่างธรรมชาติ นี้ จึงเป็นการให้สิ่งแวดล้อมที่เสมือนบ้านจริง และเปิดโอกาสให้เด็กๆได้สนทนา มีปฏิสัมพันธ์กันจริง เกิดการเรียนรู้จริง
แม้จะเป็นการจัดสถานที่จำลองขึ้นมาก็ตาม ความสำเร็จที่เด็กได้รับในการเรียนรู้คือ การจัดการตนเองกับเพื่อนๆและสิ่งต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกันในมุมนั้นๆโดยเชื่อมโยงกันเข้าอย่างมีรูปแบบ และเด็กๆจะได้รับการสนับสนุนการชี้นำจากครูเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับทุกมุมการเรียนรู้อื่นๆ

   มุมศิลปะ
 พื้นที่ในห้องส่วนนี้จะเป็นมุมที่มีชีวิตชีวา มีสีสันและมีความหลากหลายที่สุดเท่าที่ครูจะเปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสสัมผัสกับความมีเสน่ห์แห่งสีนานาชนิด วัสดุที่ใช้ประดิษฐ์เป็นชิ้นงานตามจินตนาการ หรือแม้แต่ผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงในสังคมไทย ในท้องถิ่น ครูจำเป็นต้องแสดงภาพของโลกก็ตาม มุมศิลปะคือมุมที่เกื้อหนุนให้เด็ก เกิดการแสดงออกเชิงสร้างอุปกรณ์ต่างๆไว้ บอกวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างเป็นระบบ มีข้อชี้แจ้งกฎกติกา บอกวิธีการใช้เป็นตัวอักษรกำกับไว้ หลังจากที่ฟังครูอธิบายแล้ว เด็กๆก็จะเกิดความเข้าใจและสามารถสร้างชิ้นงานได้ในที่สุด

วัสดุต่างๆที่ควรจัดไว้อย่างเป็นระเบียบได้แก่ เศษกระดาษหลากสี เศษไม้กระป๋องเปล่า ขวดพลาสติกเปล่า บรรจุในตะกร้าจัดวางและติดป้ายเขียนบอกไว้ว่าเป็นวัสดุอะไร เพื่อเด็กๆสามารถเรียนรู้ตัวอักษรได้เป็นต้น

    มุมวิทยาศาสตร์และธรรมชาติ
ให้พื้นที่ในชั้นเรียนที่สามารถจัดวางกระถางต้นไม้ที่เด็กๆปลูกหรือเป้นพื้นที่ในการนำพืชและสัตว์มาศึกษาในชั้นเรียน หลังจากศึกษาตามกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกตและบันทึก การทดลอง ภายนอกแล้ว มีชั้นจัดเก็บวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอน แบ่งแยกแยะอย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อฝึกพื้นฐานการคิดการปฏิบัติเชิงวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาตินั้น มิได้มุ่งหมายแต่เพียงการเรียนรู้ในเรื่องของภาษาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการใช้ภาษาในการเรียนรู้ทุกแขนงวิชา ตลอดหลักสูตรนั่นเอง

   มุมคณิตศาสตร์
ควรมีจะมีการเก็บอุปกรณ์สื่อที่ใช้เรียนรู้ไว้ในชั้น เตี้ยๆใกล้ กับหนังสือคณิตศาสตร์ด้วย เช่น ถ้าเรียนนับจำนวนให้วางหนังสือไว้ใกล้ๆกับกล่องเก็บเหรียญพลาสติกที่ใช้นับด้วย ทำงานเกี่ยวกับรูปทรงและการแยกแยะ ในการทดลองชั่ง ทำกราฟ หรืองานเกี่ยวกับรูปทรง วัดสัดส่วน การจัดจำพวก ตามที่บทเรียนกำหนดไว้ ให้วางหนังสือไว้ใกล้ๆกับอุปกรณ์เหล่านั้นด้วยเช่นกัน


   มุมคอมพิวเตอร์
ซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์อำนวยการทำงานและสามารถเรียนรู้ คณิต วิทย์ และเรื่องอื่นๆ ได้ด้วยการจัดระบบเวลาที่เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ไว้ให้ทราบ อย่างน้อยทุกคนควรมีโอกาสได้ทำงานที่เครื่องคอมๆ สัปดาห์ละครั้ง

ข้อที่ ๔ : ฝึกความรับผิดชอบ - ต้องรับผิดชอบร่วมกันในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ครูในชั้นเรียนแนวภาษาธรรมชาติ มีบทบาทสำคัญมากเป็นตัวกลางที่นำเด็กเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ นำสู่ช่องทางการแสวงหาความรู้และเป็นผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ และการปฏิบัติจะเป็นหน้าที่ของผู้เรียน เด็กๆก็มีความรับผิดชอบมากขึ้น (แต่ก่อนนี้ครูจะรับแต่ผู้เดียว) จะทำงานรวบรวมข้อมูล คำศัพท์ ระดมสมอง ขึ้นแผนภูมิให้เห็นในห้อง ดูแลรักษาทำความสะอาด และจัดอุปกรณ์ทุกอย่างเอง หนังสือจากห้องสมุดก็มีระบบการเลือก การยืม และการคืนกันเอง ครูช่วยน้อยมาก หนังสือ นิตยสารจากบ้าน บนผนังห้องมีการแสดงให้เห็นว่าใครช่วยทำอะไรกันบ้างงานที่ต้องทำกำหนดไว้ชัดเจนและเด็กๆ ก็ทำงานกันอย่างอิสระเสรี โดยครูจ้ำจี้จ้ำไชให้ทำน้อยมาก

ข้อที่ ๕ : ฝึกให้มีงานทำ – การเรียนรู้อย่างมีความหมายและเกิดความกระตือรือร้น  วัฒนธรรม “นั่งทำงาน” ได้ถูกแทนที่ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายและมีความหมายทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของงานที่กำลังอยู่ บ้างทำงานประวัติศาสตร์เป็นกลุ่ม บ้างทำงานเดี่ยวกับหนังสือที่โปรดปราน เขียนหนังสือใหม่ หรือเป็นบรรณาธิการสำหรับหนังสือเล่มใหม่ ฯลฯ ครูก็จะคอยช่วยดูแลการอ่าน+ การเขียน การสังเกตเข้าช่วยเหลือและจดบันทึก ส่วนนอกห้องผู้ปกครองอาสาสมัครนั่งฟังกลุ่มเด็ก ๆ เล่านิทานเรื่องโปรด ด้วยการใช้คำพูดของเขาเอง   เด็ก ๆ จะช่วยในสภาพแวดล้อม   ของกิจกรรมที่สิ่งให้เกิดการเรียนรู้อย่าง
แท้จริง เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบ   ความเป็นตัวของตัวเองการจัดระบบ  กิจวัตรให้เกิดเป็นอุปนิสัย โดยครูเป็นผู้กำหนดกฎกติกา มารยาทและรักษาให้เป็นไปตาม ตารางเวลานั้น


ข้อที่ ๖ : การประมาณ – เด็ก ๆมักจะรู้สึกอิสระที่จะทดลอง เมื่อได้รับการสนับสนุนและแสดงชื่นชมเมื่อเขาได้ใช้ความพยายาม ครูมีหน้าที่จัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ในหลายระดับ ให้เด็ก ๆ ประสบความสำเร็จในการเรียนโดยอาศัยวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบทั้งที่เป็นธรรมชาติ และที่ทางโรงเรียนมีให้     งานเขียนของเด็กที่แสดงในห้องเรียนนั้น จะไม่ปรากฎให้เห็นร่องรอยการใช้เครื่องหมายถูกผิด หรือการแก้ไขเลย ชิ้นงานของเด็กๆ จัดแสดงอยู่รอบๆ ห้องเรียน ซึ่งเป็นงานที่ทุกคนยอมรับการเขียนที่อยู่ในช่วงฝึกฝน และได้รับการสนับสนุนให้ทำอย่างเต็มความสามารถ และครูไม่คาดหวังให้เขียนที่ถูกต้องสมบูรณ์เต็มร้อย การประมาณการ การคาดเดาคำตอบ และการโต้ตอบได้รับการยอมรับทั้งสิ้น

ข้อที่๗ : การสะท้อนความคิด – เด็ก ๆ จะเรียนรู้ด้วยการสนทนาโต้ตอบกันในเชิงสร้างสรรค์ จากครูและเพื่อน  องค์ประกอบหลากหลายตัวในชั้นเรียน Whole Language นี้ช่วยให้เด็ก ๆ ได้รีบการสะท้อนความคิดอย่างทันใด กล่าวคือการจัดโต๊ะเรียนนั่งรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อให้สนทนาและปรึกษากันได้ ประเมินตนเองและประชุมกันได้ ทั้งครูกับเด็กจะหารือกันเพื่อบอกกล่าวถึงความก้าวหน้าในการเป็นนักอ่าน นักเขียน นักฟัง นักพูด นักทำหนังสือ ทำงานศิลปะ และกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและคนอื่น ทั้งในห้องและนอกห้องเรียน

“เก้าอี้สำหรับนักเขียน” เป็นการช่วยให้เด็ก ๆ ๆรักการเป็นนักเขียน เพราะเพื่อน ๆ จะตระหนักถึงความสำคัญและจะได้รับการปรบมือชื่นชมมาก หลังจากที่ทุกคนนั่งฟังเจ้าของเรื่องอ่านเรื่องให้ฟัง มีการถาม วิจารณ์ เพื่อให้ผู้เขียนได้ฟังความเห็นความเห็นและสำรวจตัวเองต่อไป การได้รับทั้งคำติชมนี้สร้างความรู้สึกที่มีคุณค่าต่อตนเองได้เป็นอย่างดี

ผู้มาเยี่ยมชมจะพูดถึงชั้นเรียนนี้ว่าอย่างไรนะ ?

บางทีคำว่า “ง่วน” ดูจะเหมาะกับสภาพบรรยายกาศการเรียนรู้ในห้อง ที่มีกิจกรรม มากมายให้ถ้าอยู่ตลอดเวลา สำหรับผู้มาเยือนอาจจะเห็นว่ามันชุลมุนเอาการอยู่ เพราะครูไม่ได้อยู่ตรงกลางห้องคอยกำกับการแต่อย่างใด แต่ถ้าพินิจพิจารณาให้ดี จะเห็นว่า เด็กทุกคนมีเป้าหมายของตนเองในการทำงาน และแม้จะดูว่ากิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียว แต่ก็จะมองเห็นว่าทุกกลุ่มทุกคนทำงานหรือเล่นโดยมีจุดหมายเดียวกัน คือ “มุ่งมั่นเรียนรู้” บางคนพูดคุยกันบ้าง สุมหัวร่วมคิด ร่วมกันทำงานตามขั้นตอนของงาน ที่เลื่อนไหลไปตามกิจวัตรประจำวันที่กำหนดเป็นระเบียบของห้องแล้ว

แผนผังห้องเรียนสำหรับระดับชั้นอนุบาล
เด็ก ๆ ยินดีตอบการจัดชั้นเรียนแบบนี้ บรรยากาศแวดล้อมที่เชื้อเชิญ มีบริเวณหน้าชั้นที่กว้างขวาง เพื่อเล่นเกมและการเคลื่อนไหว ทั้งกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ได้ทำกิจกรรมและการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย
    ที่เก็บของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เป็นสัดส่วนมีป้ายติดบอกชัดเจน มีโต๊ะให้ทำงานทั้งที่ต้องการทำอิสระ ทำคนเดียวและทำรวมกันเป็นกลุ่ม
    มุมหนังสือจัดวางไว้น่าอ่าน และมีการตั้งชื่อ “มิตรอักษร” เพื่อให้เด็ก ๆ ได้สังเกตเห็นชัดเจนหยิบฉวยเครื่องมือไปใช้ได้ง่าย เก็บเข้าที่ก็ง่าย เมื่อต้องการอ่าน – เขียน และเรียนรู้ตลอดเวลา โดยปราศจากความกลัวว่าจะทำไม่ได้

ครูอาจจัดห้องอีกรูปแบบหนึ่งโดยปรับเป็นแผนผังห้องเรียนในระดับชั้นที่สูงกว่าอนุบาล หรือเรียกได้ว่าเป็นรูปแบบสำหรับประถมต้น ซึ่งเมื่อเข้ามาในห้องนี้จะรู้สึกได้ว่า เสมือนเข้าสู่โลกของสื่อชนิดต่างๆ ที่เป็นทั้งด้านสังคม วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และเป็นที่ทำงานของ เด็กๆ ที่เต็มไปด้วยความอิสระ ในการเรียนที่สามารถเลื่อนไหลไปตามพื้นที่ทั้งหมดทั่วห้อง

ครูควรจัดห้องเรียนให้มีบรรยากาศสบายๆ เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก สนับสนุนให้เด็กมีการทำงานร่วมกัน โต๊ะเรียนจึงต้องจัดให้สนองเป้าหมายนี้ ขณะเดียวกันเด็ก ๆ ก็ต้องการที่จะมีเวลา มีมุมการเรียนรู้คนเดียวด้วย และถือเรื่องสำคัญที่สุด เมื่อเขาต้องดารเจาะลึกในเรื่องที่เขาสนใจจริงๆในระดับสูงขึ้น
สภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน
การเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวมในที่นี้ “องค์รวม” จะหมายเอาการเปิดโอกาสหรือการกำหนดให้เรียนรู้ได้ใช้สถานที่ต่างๆ ในการเรียนรู้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

* บริเวณเฉลียงหน้าห้องเรียน * สถานที่จริง ๆ ในชุมชนใกล้โรงเรียน เช่น

* บริเวณสนามเด็กเล่น ร้านขายหนังสือ ไปรษณีย์โทรเลข ตลาด

* พื้นที่ ๆ ไม่ใช่เขตหวงห้ามในบริเวณโรงเรียน วัด ฯลฯทั้งหมด เข้าไปเรียนรู้ได้

 * สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด

* สนามหญ้าของโรงเรียน ที่ออกกำลังกาย แหล่งธรรมชาติ

* บ้านคุณครู บ้านเพื่อน

1 ความคิดเห็น:

  1. อ่านแล้วค่ะ....
    แต่ยังไม่จบเลยค่ะ 5555

    อย่างงั้นขอ save เก็บไว้อ่านต่อนะคะ
    ขอบคุณจารย์จ๋ามากมายนะคะ จุ้บๆ;3

    ตอบลบ