วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คู่มือครู บทที่ 3.

การวางแผนการเรียนการสอนโดยใช้หัวข้อเรื่อง


หลักการ
อะไรคือ หัวข้อเรื่อง

(หัวข้อเรื่อง/ใจความสำคัญ/แก่นสาร/แนวเรื่อง/หัวข้อการอภิปราย/หัวข้อในการสนทนา)
การเลือกหัวข้อเรื่องตามเนื้อหาในหลักสูตร คือการนำวิธีวิทยา (Mothod) มาใช้ในการจัดการ เรียนการ
สอน จัดวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ให้เกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างเป็นธรรมชาติ

ทำไมครูจึงควรจัดบทเรียนแบบหัวข้อเรื่อง ?

• เด็กๆ เรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อหลักสูตรนั้นคือการบูรณาการและสอนแบบองค์รวม

• หัวเรื่องหรือหัวข้อที่ใช้ ช่วยให้ฝึกทักษะ ผ่านกิจกรรม การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง

• หัวข้อเรื่องในการเรียน ทำให้มีการวางแผนได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

• หัวข้อเรื่องอาจขยายวงกว้าง หรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับความต้องการของเด็กๆ ในแต่ละปี

• เด็กๆ สามารถวางแผนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ด้วยกันได้


จัดการเรียนการสอนโดยใช้หัวข้อเรื่องอย่างไร? ให้เป็นระบบ

ก. เลือกเรื่องที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย/เด็กสนใจ
หัวเรื่องที่น่าสนใจทำให้เด็กๆกระตือรือร้นอยากเรียนและเรียนด้วยความสนุกสนาน ครูต้องพิจารณาเนื้อหาและพึ่งประสงค์ในหลักสูตร แล้วจึงเลือกหัวข้อให้สอดคล้องกับ แหล่งที่มา ของเรื่องก็คือจากเด็ก จากครู จากฤดูกาล(ในประเทศนั้น) วันสำคัญ เหตุการณ์ กรอบเนื้อหา ที่หลักสูตรกำหนด และหนังสือต่างๆ หนังสือวรรณกรรมและหนังสือความรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนที่ใช้เป็นแนวเรื่อง คุณครูควรเลือกหนังสือที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับหัวเรื่องที่เลือกไว้ในห้องสมุด มีหนังสืออ้างอิงมากมาย เช่น นิทานเรื่องเด็กชายก. เดินไปขึ้น ฮ. โดยม้านิลมังกร (นามปากกา)ครูเขียนรายชื่อหัวข้อย่อยในเรื่องที่เรียน สำหรับเด็กเลือกได้


ครูเขียนรายชื่อหัวข้อย่อยในเรื่องที่เรียน สำหรับเด็กเลือกได้

. การวางแผนและทำให้เป็นระบบ
๑. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรใน หัวเรื่องนั้น แล้วระดมสมองกับเด็กๆ เพื่อตรวจ
สอบประสบการณ์เพิ่ม และเพื่อรู้ว่าเขาต้องการรู้ อะไรเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ครูและนักเรียนช่วยกันคิด
ว่ามีอะไรที่เกี่ยวเนื่องกันบ้างในแต่ละหัวข้อเรื่อง


๒. การจัดข้อมูลความคิดอย่างง่ายๆ ตามเนื้อหาและองค์ประกอบของภาษา (การฟัง การพูด การ อ่าน การเขียน) ตัวอย่างข้างล่างนี้แสดงให้เห็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการระดมสมองบันทึกลงในโครงร่างของหัวข้อใหญ่ เป็นการบรูณาการทุกแขวงวิชาเข้าสู่หัวเรื่องเดียวกัน
การเขียนหัวข้อเรื่องหรือจะพูดกลับกันก็ได้ว่าเป็นการจัดข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหัวข้อ

เรื่อง ๑ หัวข้อ แล้วระดมความคิดออกได้ทุกแขวงวิชา ซึ่งล้วนเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกับหัวข้อนั้นๆ
รูปแบบการวางแผนตามหัวข้อเรื่องต้องมีการจัดการความคิด (ตามบริบทสังคมไทย) อย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมตอบสนองการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การเล่นละครสร้างสรรค์ เกมการละเล่น ดนตรีและเคลื่อนไหว ภาษาพูด อ่าน เขียน คณิต วิทย์ สังคม ศิลปะ โภชนา รายชื่อหนังสือพร้อมผู้แต่ง และข้อมูลต่างๆ สาระสนเทศ การใช้หน่วยเนื้อหา การสื่อสารนั้นทำได้หลายระดับชั้น อนุบาลใช้เนื้อหาง่าย และยากขึ้นๆ ในระดับประถม ซับซ้อนตามลำดับวัย

แบบการวางแผนหัวข้อเรื่อง หรือจะพูดกลับกันก็ได้ว่าเป็นการจัดข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหัวข้อ
เรื่อง ๑ หัวข้อ แล้วระดมความคิดออกได้ทุกแขวงวิชา ซึ่งล้วน เชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกับหัวข้อนั้นๆ


รูปแบบการวางแผนตามหัวข้อเรื่องต้องมีการจัดการความคิด (ตามบริบทสังคมไทย) อย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมตอบสนองการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การเล่นละครสร้างสรรค์ เกมการละเล่น ดนตรีและเคลื่อนไหว ภาษาพูด อ่าน เขียน คณิต วิทย์ สังคม ศิลปะ โภชนา รายชื่อหนังสือพร้อมผู้แต่ง และข้อมูลต่างๆ สาระสนเทศ การใช้หน่วยเนื้อหา การสื่อสารนั้นทำได้หลายระดับชั้น อนุบาลใช้เนื้อหาง่าย และยากขึ้นๆ ในระดับประถม ซับซ้อนตามลำดับวัย


แบบการวางแผนหัวข้อเรื่อง


หัวข้อเรื่อง/หน่วย


โคลงกลอน/เพลง/หนังสือ-นิทาน จาก ไปรษณีย์ที่รัก  จดหมายถึงน้องแป้ง  สังคมศึกษา/วิทย์/สุขศึกษา


-เลือกด้านหนึ่งของอาชีพในที่ทำการไปรษณีย์เพื่อรายงานสั้นๆและใส่ระยะเวลาในการค้นคิดปรากฏการณ์ด้านคมนาคม

-เปรียบเทียบการโทรเลขกับโทรศัพท์ รายชื่อ รายการ สภาพอากาศ รายงาน ค้นพบ การทำงานของวิทย์ สร้างความชัดเจนในสื่อทุกชนิด


คณิตศาสตร์

หนังสือตำราที่คัดเลือกแล้ว เรื่องราวของปัญหาต่างๆ ดวงตราไปรษณีย์ ตำราด้านการคมนาคมสื่อคุณค่า และแผนกต่างๆที่ต้องส่งสาร(บอกชื่อผู้แต่ง) ถกวิเคราะห์เป้าหมายการเขียน ทำหนังสือเล่มใหญ่หลังจากฟังเรื่อง  อ่านเรื่องกบและเพื่อนำจดหมายพูดอภิปราย การชั่งจดหมายและหีบห่อ มีการคิดคำนวณ ราคาอย่างไร สังคมศึกษา และกิจกรรมศิลปะ


ศิลปะ


-ทำหุ่นถุงกระดาษจากนิทานที่ฟัง และเด็กๆเล่นหุ่นตามที่เข้าใจ

-ทำแผ่นกระดาษเป็นหุ่นตามเรื่องที่ฟัง

-ออกแบบดวงตราไปรษณียากรและให้เหตุผลอธิบายว่าทำไมจึงใช้แบบนี้

-ทำจอดโทรทัศน์จำลองหรือการจำลองห้องส่งอธิบายนำเสนอเรื่องราวด้านงานศิลปะในแขนงการ
สื่อสาร ศูนย์กลางกิจกรรมการเรียนรู้

การเขียน :   สมุดไปรษณียบัติ ออกแบบ เก็บที่อยู่


คณิต :   การชั่งน้ำหนักจดหมาย


คอม : เขียนวัตถุประสงค์  วิเคราะห์ถามความรู้สึก การรับจดหมาย การเขียนถึงเพื่อน  อ่านเรื่องคนทำงาน ที่ทำการไปรษณีย์ ก ถึง ฮ เรียนขั้นตอนการทำงานคนทำงาน เด็กทุกคนเขียนและวาดเรื่องสั้น ที่เขาชอบที่สุด
อ่านเรื่อง “ไปรษณีย์ที่รัก” อภิปรายเขียนรายชื่อ คำกลอนเป็นแผงใหญ่ แผนที่ใหญ่ให้เด็กๆ เล่าเรื่องและวางตำแหน่งตามแผนที่อย่างถูกต้องเป็นขั้นตอน ตอบจดหมายเป็นรูปแบบต่างๆ  พูดถึงที่มาของไปรษณียากร ออกแบบตามความคิด หรือสถานที่เกี่ยวกับการเดินทางเมืองต่างๆ ของที่ระลึก ของเล่น อาหาร กิจกรรม ประเพณี  เขียนจดหมายถึงนักเขียน  เขียนเกี่ยวกับหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งทุกวัน

หัวเรื่อง :  เขียนขั้นตอนการส่งจดหมายที่ถูกต้องชัดเจน

สังคม : ให้เห็นเส้นทางของจดหมายต้นทางปลายทาง


วิทย์ :  ค้นหาว่าโทรศัพท์ทำงานอย่างไร และเอาโทรศัพท์เก่าๆมาลื้อแยกส่วน


เหตุการณ์พิเศษ :  ทัศนศึกษาไปที่ทำการไปรษณีย์เชิญบุรุษไปรษณีย์ นักจัดรายการวิทยุ คนรับโทรศัพท์ /คนทำขนม คุกกี้ที่มีจดหมายอยู่ในขนม

กิจกรรมทางภาษา
แนะนำ “ การคมนาคม” ใช้หนังสือทำความเข้าใจในเรื่องคมนาคม อ่านเรื่อง นายนำบุรุษไปรษณีย์ เรื่องมิตรภาพ เรื่องจดหมายถึงแมว อภิปราย


ค. การรวบรวมวัสดุสื่อการเรียนการสอน   
 การจัดหน่วยการสอน และงานเอกสารเข้าแฟ้มให้เรียบร้อย เก็บสะสมวัสดุต่างๆ ในกล่องติดป้าย แจ้งว่าใช้ในหน่วยใด (เนื้อหาอะไร) รายชื่อหนังสือ และวัสดุอุปกรณ์ ติดไว้ไต้ฝากล่อง เพื่อไว้ตรวจสอบเวลาเก็บรวบรวม ในแต่ละคนจัดใส่หนังสือ (นิยามและสารคดี) โคลงกลอน กระดาษงาน ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะแถบบันถึกเสียง แผนที่ เกม ฝึกทักษะ เกมการศึกษา หุ่น เสื้อผ้า เครื่องอุปกรณ์ประกอบฉาก

ง.หาข้อมูลความรู้จากหลายๆแหล่ง


• มีส่วนร่วมกับเด็กๆ และรวมความคิดกับเด็กๆ ขณะที่ครูวางแผนหัวเรื่องนั้นๆ

• หารือกับฝ่ายสื่อ และห้องสมุด เพื่อช่วยหาหนังสือและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการ

• ตรวจดูโปรแกรมคอมพิวเตอร์ว่ามีหรือไม่

• ติดต่อครู ผู้ปกครอง ชุมชน ที่ต้องการช่วยเหลือ

• เชิญผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์จากภายนอกมาให้ความรู้

• จัดทัศนศึกษาที่เหมาะสมกับเรื่อง

• แจ้งผู้ปกครองเรื่องเนื้อหาหน่วยที่เรียน และให้มีส่วนร่วมทุกครั้งเท่าที่จะทำได้

จ.การนำหัวข้อเรื่องลงใช้ให้เกิดผล


เมื่อขั้นวางแผนเรียบร้อยแล้ว ครูก็นับว่าพร้อมที่จะเริ่ม โดยการคัดเลือกกิจกรรมที่ใช้ผสมผสานกับ

หลักสูตรเฉพาะในแต่ละวันตามหัวข้อ เรื่องการสื่อสารนี้



วันจันทร์ที่ 16 เมษายน
  หน่วยการสื่อสาร

           แนะนำหน่วยการเรียนกับชั้นเรียนพร้อมกับการอุ่นเครื่องตอนเช้า ร้องเพลง “บุรุษไปรษณีย์จ๋า”สนทนาการเขียนจดหมาย เป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง ทั้งชั้นช่วยกันระดมสมอง ประสบการณ์เดิม ใครรู้เรื่องการรับ – ส่งจดหมายบ้าง เป็นการเขียนความรู้เดิมของแต่ละคนขึ้นบนกระดาน ทั้งกลุ่มลองเขียนจดหมาย คนละฉบับ


ศูนย์การเรียนในห้อง


         : มุมเขียน ทำหนังสือเกี่ยวกับบุรุษไปรษณีย์

         : มุมคณิต เป็นที่ใช้เขียนจำลองซื้อ – ขายดวงตราไปรษณีย์ การชั่ง ตวงน้ำหนัก

         : มุมศิลปะ ออกแบบตราไปรษณ์/แสตมป์

        : มุมฟัง มีแถบบันทึกเสียง เพลง ประวัติการสื่อสารในประเทศไทย / ของโลก

        : มุมวิทยุสนทนา หรือการขนส่ง รับ-ส่งปัญหาต่างๆ สภาพอากาศมีอิทธิพลส่งผลให้การส่งล้าช้าทั่วประเทศ โลก

ฉ. การประเมินความก้าวหน้าของเด็ก

วัดดูผลกระทบของหน่วยหัวข้อเรื่องที่มีต่อเด็ก โดยครูต้อง สังเกตความก้าวหน้า การทำกิจกรรมได้ตามเป้าหมายชิ้นงานที่เด็กทำด้วยวิธีการประเมิน ตนเองของเด็กและตัวครูด้วย โดยครูจัดทำแบบการวัดผลเป็นให้เด็ก ตอบปากเปล่า หรือเป็นการเขียนก็ได้


การประเมินหัวข้อเรื่อง


หัวข้อเรื่อง ชื่อครู


เด็กประเมินตนเอง


กิจกรรมที่ฉันชอบมากที่สุดคือ....................เพราะ............................


กิจกรรมที่อยากทำมากที่สุดคือ.........................เพราะ........................


ฉันได้ช่วยงามตามเนื้อหาโดย   การทำงานกลุ่ม  งานที่ทำอิสระ

ครูประเมิน


๑. เด็กมีส่วนร่วมในการอภิปรายอย่างไร ? ภูมิสนุกกับการพูดคุยในกลุ่ม สนใจงานของเพื่อนๆทุกๆคน

๒. เด็กเข้าร่วมทำกิจกรรมหลากหลายทั่วถึงหรือไม่? (กลุ่มใหญ่/ต่อกลุ่มย่อย/เดี่ยว)

๓. เด็กทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย ตามหัวข้อเรื่องหรือไม่ ? (ทำหนังสือ/เขียนจดหมาย/เข้ามุม/ค้นคว้าหาความรู้)

๔. กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กมีโอกาสแสดงออกได้มาก?

๕. มีกิจกรรมใดบ้างที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรนำมาใช้ ? เพราะเหตุใด

1 ความคิดเห็น: